Wednesday, December 21, 2016

ประธานมูลนิธิสิริวัฒนภักดี มอบกล้องผ่าตัดจุลศัลยกรรม (Microscope) แก่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ใน ศูนย์ฝึกผ่าตัด หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

กล้องไมโครสโคป (Microscope)


ประธานมูลนิธิสิริวัฒนภักดี มอบกล้องผ่าตัดจุลศัลยกรรม (Microscope) แก่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ใน ศูนย์ฝึกผ่าตัด หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ


คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ประธานมูลนิธิสิริวัฒนภักดี มอบกล้องผ่าตัดจุลศัลยกรรม (Microscope) หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง จำนวน 10 เครื่อง มูลค่า 23,000,000 บาท (ยี่สิบสามล้านบาท) ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านทาง หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ เพื่อใช้ใน ศูนย์ฝึกผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี, รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผน และพัฒนา และ รศ.นพ.ธันวา ตันสถิตย์ หัวหน้าศูนย์ฝึกผ่าตัด ร่วมรับมอบกล้องจุลทรรศน์

จุลศัลยกรรมคือการทำศัลยกรรมที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ร่วมกับอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ ในการผ่าตัดเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็กมากๆที่จำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศกำลังขยายสูงมาช่วยในการมองขณะทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่มักจะเป็นการผ่าตัดเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของเส้นเลือด และเส้นประสาท  โดยการใช้กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงแบบ 3 มิติ ช่วยขยายให้แพทย์สามารถมองเห็นส่วนต่างๆ ได้ชัดเจน โดยเฉพาะความผิดปกติที่อยู่ในสมองส่วนที่อยู่ลึก หรือมือทีมีเนื้อเยื่อของเส้นเลือด และเส้นประสาท ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ ปลอดภัย และได้ผลการรักษาดีกว่าการผ่าตัดโดยอาศัยตาเปล่ามือ

หรือ การผ่าตัดเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็กมากๆที่จำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงมาช่วยในการมองขณะทำการผ่าตัดมือซึ่งเป็นอวัยวะที่มีลักษณะการใช้งานที่พิเศษ มีประสาทสัมผัสที่ละเอียดอ่อน มีการเคลื่อนไหวที่วิเศษใช้งานได้ตั้งแต่งานหยาบๆ เช่นการหยิบจับธรรมดา ไปจนถึงงานละเอียดมากๆ เช่น การเจียระไนอัญญะมณี รวมไปถึงงานสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างตา สมอง และการใช้มืออย่างรวดเร็วและถูกต้อง เช่น การเล่นเปียโน การเล่นกีต้าร์ เป็นต้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงขอยกตัวอย่างการผ่าตัดด้วยใช้กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง กับมือและนิ้วเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นภาพด้วยกล้องกล้องผ่าตัด  เนื่องด้วยการทำให้มือของมนุษย์มีความละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง ศัลยแพทย์มือจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดด้วยเทคนิคทางด้านจุลศัลยกรรมเพิ่มขึ้นอีกแขนงหนึ่งด้วยจึงจะสามารถรักษามือที่บาดเจ็บอย่างรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบาดเจ็บของมือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อยที่สุด และมักจะเกิดกับผู้บาดเจ็บในภาคอุตสาหกรรมเป็นต้น  การรักษามือที่บาดเจ็บที่มีลักษณะต่างๆกันเพื่อให้ผลดีที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้มือนั้นให้ประโยชน์สูงสุด เป็นภารกิจที่ต้องอาศัยความรู้และความชำนาญ ประสบการในการรักษาเป็นอย่างดี

ประโยชน์ของการใช้เทคนิคทางด้านจุลศัลยกรรมในการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์
1.ใช้ในการต่ออวัยวะที่ขาด เช่น นิ้วขาด มือขาด แขนขาด
2.ใช้ในการผ่าตัดสร้างเนื้อเยื่อทดแทนส่วนที่ถูกทำลาย
3.ใช้ในการซ่อมสร้างเส้นประสาทที่ถูกทำลาย

เป็นที่ทราบกันดีว่า มือและนิ้วเป็นส่วนของร่างกายที่เกิดอุบัติเห็นได้บ่อยที่สุด การบาดเจ็บที่เกิดกับปลายนิ้วที่จำเป็นต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัด บางครั้งก็ทิ้งความพิการที่ยอมรับได้ยาก ความพิการเหล่านี้จะติดตัวตลอดไป การแก้ไขแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้รับบาดเจ็บที่ปลายนิ้ว เรามีความจำเป็นที่จะต้องถามแพทย์ถึงผลการรักษาที่คาดว่าจะได้ให้เป็นที่เข้าใจให้ตรงกันเสียก่อน ก่อนเริ่มทำการรักษาทุกครั้ง เพื่อป้องกันการผิดพลาด

ในปัจจุบันการผ่าตัดต่ออวัยวะที่ขาดด้วยเทคนิคทางด้านจุลศัลยกรรมโดยใช้กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็นกล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูงนั้น เราสามารถใช้เทคนิคทางด้านจุลศัลยกรรมมาช่วยในการต่อมือ นิ้ว หรือแขน ที่ขาดออกจากร่างกาย ให้กลับคืนมา พอที่จะใช้งานได้อีก แม้ว่าจะไม่เหมือนเดิมทุกประการก็ตาม โดยมีข้อบ่งชี้กว้างๆในการพิจารณาว่าควรหรือไม่ควร ก็มีคร่าว ๆ คือ คนไข้ต้องมีสุขภาพแข็งแรงดีและสามารถทนต่อการผ่าตัดนานๆได้ สภาพของอวัยวะที่ขาดนั้น ต้องไม่เสีย การเก็บรักษาเนื้อเยื่อส่วนที่ขาดต้องเก็บมาอย่างถูกวิธี และต้องมีจุลศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญ

Cr.แนวหน้า,โรงพยาบาลจุฬารัตน์

No comments:

Post a Comment