กล้องจุลทรรศน์ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด BME Innovation Award2016 จาก ผลงานนักศึกษา วิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.รังสิต ใช้สำหรับวิเคราะห์เซลล์ที่มีขนาดเล็ก พร้อมจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ผลงานโครงงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น กล้องไมโครสโคป (Microscope) ระดับปริญญาตรีของทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.รังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศ ในการประกวด BME Innovation Award 2016 รับทุนการศึกษา จำนวน 10,000 บาท โครงงานสิ่งประดิษฐ์นี้เป็นนกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลที่ใช้การสแกนโดยใช้อุปกรณ์ DMD (Scanning Confocal Microscope Using DMD Device) พร้อมถ้วยรางวัล โดยมีผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 20 ทีม จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งจัดแข่งขัน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
กล้องไมโครสโคป (Microscope) ดังกล่าวนิยมใช้ในทางจุลชีววิทยา ใช้ส่องในส่วนที่มีขนาดเล็ก ทั้งนี้ กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันทั่วไปจะมีความคมชัดไม่ทั่วทั้งภาพ แต่กล้องไมโครสโคป (Microscope) ของเราจะทำให้ได้ภาพที่ชัดในทุกๆ จุด ทำให้มีความพิเศษกว่ากล้องจุลทรรศน์ทั่วไป ผลงานนักศึกษา ม.รังสิต ได้แก่ นางสาวกชกร อิทธิพรนุสนธิ์ (มุก) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นางสาวจารุวรรณ ชะฎา (บี) นางสาวภคพร พิมลสกลวงศ์ (แพร) นางสาวประกายกานต์ คูลีคันดาล (บีบี) และนางสาวพิมลแข ชอบดี (แข) โดยมี ดร.สื่อจิตต์ เพชร์ประสาน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ผลิตผลงานกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลที่ใช้การสแกนโดยใช้อุปกรณ์ DMD ซึ่งเป็นผลงานที่เราพัฒนาขึ้นมาเอง
กล้องจุลทรรศน์ดังกล่าวใช้สำหรับวิเคราะห์เซลล์ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งทางการแพทย์สามารถใช้ตรวจความผิดปกติของเซลล์ได้ ทั้งนี้ กล้องไมโครสโคป (Microscope) ทั่วไปนั้นมีราคาสูงประมาณ 2-3 ล้านบาท แต่โครงงานที่ผลิตขึ้นมานี้ใช้ต้นทุนเพียง 2 หมื่นบาทต่อเครื่อง ซึ่งมีราคาถูกลงมาก แต่ยังคงประสิทธิภาพเทียบเท่ากล้องคอนโฟคอลแบบดั้งเดิม สามารถพัฒนาต่อยอดและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ เป็นการลดต้นทุนการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวได้ทำการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นางสาวกชกร กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ด้วยว่า "ทุกคนในกลุ่มรู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลนี้ เพราะว่าเป็นโครงงานกล้องไมโครสโคป (Microscope)ที่เราทุ่มเทมาก ทุกคนไม่เคยผ่านเวทีประกวดมาก่อน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกเมื่อได้รางวัลก็รู้สึกดีใจ เรียกได้ว่าเป็นการเปิดตลาดด้านกล้องจุลทรรศน์ในประเทศไทย และได้นำสิ่งที่เรียนในห้องเรียนไปใช้ รวมทั้งได้ประสบการณ์นอกห้องเรียน ทำให้เราได้รู้จักวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเอง โดยมีอาจารย์ให้คำแนะนำปรึกษาด้วยค่ะ
Cr.ไทยโพสต์
No comments:
Post a Comment