Tuesday, December 13, 2016

ไขความลับ เมืองทองคำ หรือ อู่แห่งทองคำ

กล้องไมโครสโคป


ไขความลับ เมืองทองคำ หรือ อู่แห่งทองคำ


ผลการศึกษาพบว่าภูมิภาคนี้โดยเฉพาะประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองและก้าวหน้าในการนำทองคำมาประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับไม่น้อยกว่า 2,000 ปี เฉพาะที่อู่ทองมีความหลากหลาย นอกจากพระพุทธรูปทองคำแล้ว ยังพบจี้ที่มีลักษณะพิเศษคล้ายธรรมจักรในพระพุทธศาสนา อันอาจสนับสนุนสมมุติฐานการเป็นดินแดนสุวรรณภูมิของอาณาบริเวณนี้ที่พัฒนาต่อจนเป็นแว่นแคว้นทวารวดีที่ถือเป็นต้นทางของอารยะธรรมไทย โดยผู้เชี่ยวชาญโลหะโบราณระดับโลกที่ชี้เบาะแสของที่ตั้ง “สุวรรณภูมิโบราณ” อันเป็นต้นทางของอารยะธรรมไทยทุกวันนี้ โดย 30 ปีก่อน ดร.แอนนา เคยมาทำการขุดค้นทางโบราณคดีและวิจัยในระดับปริญญาเอกที่อู่ทอง จึงมีความผูกพันกับประเทศไทย ซึ่งสามารถไขความลับ เมืองทองคำ หรือ อู่แห่งทองคำ ณ อู่ทอง

แหล่งโบราณคดี “อู่ทอง” และที่เรียกกันนว่า "อู่ทอง" เพราะที่นี่มี "ทองคำ" มากมาย จึงได้รับความสนใจมากขึ้นทุกครั้งที่มีรายงานการค้นพบวัตถุโบราณล้ำค่าใหม่ๆ โดยเฉพาะทองคำที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของที่นี่ ล่าสุดองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และ สำนักพิมพ์ริเวอร์บุคส์ เปิดตัวหนังสือ “CITY OF GOLD :เมืองทอง...ที่อู่ทอง” ซึ่งได้รับอนุญาตจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และ อู่ทอง ให้ทำการศึกษาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบครบถ้วนเป็นครั้งแรก โดย ดร.แอนนา เบนเน็ตต์ นักวิทยาศาสตร์โบราณคดีผู้เชี่ยวชาญโลหะโบราณระดับโลก โดยมี ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผอ.อพท.,นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ร่วมงานที่วังจักรพงษ์ วิลล่า เมื่อวันก่อน
                                                       
เมืองโบราณอู่ทอง มักจะถูกตั้งคำถามจากหลายๆ ฝ่ายถึงชื่อนี้ว่ามีทองอยู่ในพื้นที่หรือไม่   ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท  กล่าวว่า เมืองโบราณอู่ทอง มักจะถูกตั้งคำถามจากหลายๆ ฝ่ายถึงชื่อนี้ว่ามีทองอยู่ในพื้นที่หรือไม่ ทำให้ อพท. ในฐานะหน่วยงานพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ได้ตั้งคำถามกับตัวเอง และพยายามหาคำตอบหลายครั้ง ซึ่งคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน จะพบว่ามีทองอยู่ในเมืองโบราณอู่ทองจริงและถูกค้นพบทองคำมากมายจากเครื่องตรวจจับโลหะ(Metal Detector) ในพื้นที่ของเมืองโบราณอู่ทอง และบางส่วนถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ด้วยเหตุนี้ จึงได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ทองโบราณอย่างจริงจังด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบครบถ้วนเป็นครั้งแรก

ด้านตัวหลักในการปลุกปั้นเนื้อหาหนังสือ ดร.แอนนา เล่าถึงวิธีทำงานของเธอในการสืบค้นทองคำที่อู่ทองจากเครื่องมือพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตรวจจับโลหะ(Metal Detector) ,กล้องไมโครสโคป (Microscope) ไมโครโฟโต้กราฟฟี่,ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) และ เอ็กซ์เรย์ ฟลูออเรสเซนต์ ที่นำมาจากบรัซเซลส์ว่า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาต้องไม่สร้างความเสียหายใดๆ กับวัตถุโบราณ ใช้วิเคราะห์เพียงผิวนอกไม่ใช่เนื้อใน ซึ่งกล้องไมโครโฟโตกราฟฟี่และกล้องไมโครสโคป (Microscope) สามารถขยายวัตถุขนาดเล็กให้เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจนจนสามารถบอกส่วนประกอบ  วิธีทำ และอายุได้อย่างแม่นยำ

จากหลักฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ 2-3 มีชุมชนเป็นศูนย์กลางสำคัญ มีวัดวาอารม มีการทำกิจกรรมต่างๆ รายรอบมีโบราณสถาน มีแหล่งแร่ธาตุ มีแม่น้ำไหลผ่าน เป็นเมืองที่มีทำเล มีจุดเชื่อมต่อการเดินทางจากตะวันตกไปตะวันออกและทางออกสู่ทะเลด้วย จึงเป็นชุมชนสำคัญด้านค้าขายและศาสนา เราพบหลักฐานชิ้นดินเผาที่มีการกดตราประทับรูปเรืออินเดีย สอดคล้องกับบันทึกกองเรือ 50 ลำจากอินเดียเข้ามาที่นี่เพื่อหาทองคำ ศิลปะทองคำบางชิ้นเราพบว่าใช้เทคนิคพิเศษหลอมเป็นเม็ดเล็กๆ ขนาดเล็กมากวัดขนาดได้จากไมโครมิเตอร์ (Micrometer) แปะติดไว้โดยไม่ใช้น้ำยาเคลือบประสาน แต่ใช้ความร้อนแทน

เทคนิคพิเศษหลอมเป็นเม็ดเล็กๆ ขนาดเล็กมากวัดขนาดได้จากไมโครมิเตอร์ (Micrometer)และแปะติดไว้โดยไม่ใช้น้ำยาเคลือบประสานเป็นเทคนิคที่แพร่หลายมากในชาวเมดิเตอร์เรเนียน หรืออย่างเศียรพระพุทธรูปทองคำขนาดเล็ก พิจารณาองค์ประกอบทองคำแล้วพบว่ามาจากคนละแหล่ง เมื่อศึกษาโบราณวัตถุแต่ละชิ้นในเชิงลึกมักจะพบความต่างอยู่มากมาย หรืออย่างพวกลูกปัดที่พบในอู่ทองจะไม่พบในที่อื่น นั่นแสดงว่าทั้งเครื่องทองหรือวัตถุอื่นๆ มีความหมายมาก เป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีสมัยพุทธกาล” ผู้เชี่ยวชาญโลหะโบราณระดับโลก กล่าว

Cr.ข่าวคมชัดลึก

No comments:

Post a Comment