นักวิจัยดีเด่น รางวัล “เรือใบซุปเปอร์มด” พัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อมาลาเรียในผู้ติดเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการ แทนใช้ กล้องจุลทรรศน์
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ TMA ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศผลรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2559 เชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับประเทศได้ หนึ่งในนั้นคือ นักวิจัยดีเด่น รศ.มัลลิกา อิ่มวงศ์ ผู้พัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อมาลาเรียในผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ที่จะได้รับโล่รางวัลพระราชทานประติมากรรม “เรือใบซุปเปอร์มด” และเงินรางวัลรวม 1 ล้านบาทในฐานะ “นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี2559”
ไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสำคัญของทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6 แสนคนต่อปี ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อประมาณ 3 หมื่นคนต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะกำจัดมาลาเรียให้หมดสิ้นภายในปี 2569 จึงจำเป็นต้องทราบว่า ใครเป็นผู้ติดเชื้อบ้าง อยู่บริเวณไหนและการแพร่กระจายของเชื้อเป็นอย่างไร ที่ผ่านมาการวินิจฉัยที่ใช้กันทั่วไปโดยการเจาะเลือดและย้อมดูเชื้อมาลาเรียด้วย กล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope)
นอกจากนี้ ไข้มาลาเรียเป็นกันมากในจังหวัดตามแนวชายแดน และจังหวัดที่ยังมีป่าทึบ ทั้งนี้เป็นเพราะพาหะของมาลาเรีย คือ ยุงก้นปล่อง ซึ่งที่เรียกอย่างนี้เพราะเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศาเห็นได้ชัดเจน ยุงก้นปล่องที่สำคัญในเมืองไทยมีสองชนิด Anopheles dirus พบในป่าทึบ ชอบออกไข่ ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ เช่น แอ่งหินในป่าทึบ นิสัยชอบกัดกินเลือดคนมาก ไม่ชอบกัดสัตว์อื่น ออกหากินตอนดึกถึงเช้ามืด อีกชนิดหนึ่งคือ Anopheles minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธารน้ำใสไหลเอื่อยๆ เดิมพบว่าเมื่อมากัดคนในบ้านก็จะเกาะตามฝาบ้าน เมื่ออิ่ม ปัจจุบันยุ งชนิดนี้มีการปรับตัว ไม่เกาะฝาบ้าน และกัดคนนอกบ้านมากขึ้นโดยเฉพาะตอนหัวค่ำสาเหตุ
รศ.มัลลิกา อิ่มวงศ์ ผู้พัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อมาลาเรียในผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ เทคนิคการตรวจเชื้อมาลาเรียที่มีความไวสูง เพื่อค้นหาผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ โดย รศ.มัลลิกา อิ่มวงศ์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมงาน ถือเป็นแนวทางการการตรวจเชื้อมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจเชื้อได้ต่ำถึง 20 parasites/mL ซึ่งต่ำกว่าการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) ตามวิธีมาตรฐานในปัจจุบันถึงกว่า 2,000 เท่า และต่ำกว่าการตรวจด้วยเทคโนโลยีพีซีอาร์ประมาณ 500 เท่า
จากการใช้เทคนิคการตรวจเชื้อมาลาเรียที่มีความไวสูงนี้ตรวจค้นหาการติดเชื้อที่ซ่อนอยู่ในร่างกายโดยไม่แสดงอาการ ช่วยลดขั้นตอนในการตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) ตามวิธีมาตรฐานในปัจจุบัน ในตัวอย่างที่มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ไทย พม่า กัมพูชา เวียดนามและลาว 52,919 ตัวอย่าง พบว่ามีการติดเชื้อมาลาเรียของผู้ที่ไม่แสดงอาการค่อนข้างสูงโดยเฉลี่ย 20-68% เทคนิคนี้ยังใช้ในการพัฒนายามาลาเรียชนิดใหม่ๆ ด้วย โดยใช้วัดปริมาณเชื้อในผู้ป่วยภายหลังได้รับยาต้านมาลาเรียชนิดใหม่นั้น เพื่อค้นหาปริมาณยาที่เหมาะสมที่สุดที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรีย ทั้งยังนำเทคนิคนี้ไปใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบความไวและความเฉพาะเจาะจงในการผลิตเทสต์คิตอีกด้วย
Cr.ข่าว Eureka
No comments:
Post a Comment