Wednesday, December 21, 2016

กระทรวงการคลัง กำชับธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และ ธ.ก.ส. เร่งโอนเงินผู้มีรายได้น้อยภายในเดือนธันวาคมนี้ ส่วน รายชื่อผู้มีรายได้น้อย ที่มีปัญหาจะนำรายชื่อเสนอ ครม.เพื่อขยายเวลาผู้มีสิทธิได้รับเงิน

รายชื่อผู้มีรายได้น้อย ธนาคารออมสิน


กระทรวงการคลัง กำชับธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย  และ ธ.ก.ส. เร่งโอนเงินผู้มีรายได้น้อยภายในเดือนธันวาคมนี้ ส่วน รายชื่อผู้มีรายได้น้อย ที่มีปัญหาจะนำรายชื่อเสนอ ครม.เพื่อขยายเวลาผู้มีสิทธิได้รับเงิน


การโอนเงินตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อดูแลค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยผ่าน 3 แบงก์รัฐ ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย 8.04 ล้านราย แบ่งเป็นผู้พร้อมรับโอนเงิน เพราะมีบัญชีเงินฝาก 7 ล้านราย ขณะนี้ทั้ง 3 แบงก์โอนเงินไปให้ชาวบ้านแล้ว 6.1 ล้านราย เป็นเงิน 14,107 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง กำชับแบงก์รัฐเร่งโอนเงินผู้มีรายได้น้อยผู้มีเลขบัญชีภายในเดือนธันวาคม นี้
     
สำหรับ รายชื่อผู้มีรายได้น้อย ที่มีปัญหา กระทรวงคลังพร้อมตรวจสอบรายชื่อไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่ส่งรายชื่อมาให้ตรวจสอบ ส่วนรายชื่อที่ทยอยมาเปิดบัญชีเพิ่ม คาดว่าแบงก์รัฐจะโอนเงินได้ตามกำหนดในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม ส่วนที่มีปัญหาทยอยร่วมกันแก้ไข และเป็นกลุ่มที่มีสิทธิได้รับเงิน จึงต้องทำเรื่องเสนอ ครม.พิจารณาเลื่อนเวลาออกไปช่วงเดือนมกราคมปี 2560 เพื่อให้รายย่อยได้รับเงินตามที่มีสิทธิ
   
ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)พร้อมโอนเงินผู้มีรายได้น้อย 3.83 ล้านราย จ่ายเงินไปแล้ว 3.6 ล้านบาท นับเป็นสัดส่วนร้อยละ 94 ในส่วนรายชื่อผู้มีรายได้น้อย 1 ล้านราย ยังไม่มีบัญชีได้ทยอยมาเปิดบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส โดยไม่ต้องใช้เงินเปิดบัญชีกว่า 600,000 ราย จึงเหลือเพียงผู้มีรายได้น้อยทยอยมาเปิดบัญชี 260,000 ราย ส่วนที่เหลือต้องมาเปิดบัญชีให้เสร็จภายในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ เพราะต้องโอนเงินให้เสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคมนี้ ตามที่ ครม.กำหนดไว้ จากนั้นจะเริ่มโอนเงินตามที่กำหนดไว้ แต่ยังมีประชาชนผู้มีสิทธิอีก 200,000 รายในส่วนของ ธ.ก.ส.ยังไม่มาติดต่อเปิดบัญชี กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผย
     
สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีรายได้น้อยแต่คุณสมบัติไม่ครบ จึงไม่ผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงคลังรอบนี้ 770,000 ราย แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1.รายชื่อ นามสกุล ไม่ตรงกับฐานข้อมูลกระทรวงหาดไทย จึงให้นำบัตรประชาชนล่าสุด มาปรับปรุงข้อมูลกับ ธ.ก.ส. เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้กับเกษตรกร ซึ่งได้มาแสดงตัวแก้ไขข้อมูลภายในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ 2.ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร แต่ไม่มีรายชื่อในฐานข้อมูลของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งได้มีการตรวจสอบข้อมูล และแก้ไขข้อมูลแล้ว 370,000 ราย จึงส่งเรื่องให้กระทรวงการคลัง และกรมสรรพากรตรวจสอบ

ในส่วนของธนาคารออมสิน ได้ดำเนินการโอนเงินตามมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ รายชื่อผู้มีรายได้น้อยซึ่งครอบคลุมผู้มีรายได้น้อยทั้งที่อยู่ในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร เมื่อวันที่ 9 – 10 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา รวมจำนวน 1,286,820 ราย เป็นยอดเงิน 2,878,183,500 บาท จากจำนวนผู้มีสิทธิ์ที่กระทรวงการคลังได้ส่งรายชื่อมายังธนาคารออมสินจำนวน 2,160,869 ราย โดยยังมีผู้ที่ลงทะเบียนกับธนาคารฯ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจากกระทรวงการคลังแล้ว อีกประมาณ 874,049 ราย ที่ธนาคารออมสินสืบค้นไม่พบบัญชีเงินฝาก

โดยธนาคารออมสินได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้รายชื่อผู้มีรายได้น้อย ผู้ที่ลงทะเบียนจำนวนนี้มาติดต่อเปิดบัญชี เพื่อธนาคารฯ จะได้ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนั้น ปรากฏว่า มีผู้ลงทะเบียนเดินทางมายังสาขาธนาคารออมสินเพื่อแสดงตนขอตรวจสอบคุณสมบัติ ตรวจสอบบัญชี ตลอดจนเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อรับการโอนเงิน ซึ่งธนาคารออมสินทยอยตรวจสอบข้อมูลบัญชีของผู้มีสิทธิ์ และในวันที่ 14 ธันวาคม 2559 ธนาคารฯ ได้โอนเงินไปให้ผู้มีสิทธิ์ได้เพิ่มอีก 180,172 ราย เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 433.24 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่เกษตรกรจำนวน 156,044 ราย รวมเป็นเงิน 377.75 ล้านบาท และกลุ่มที่เป็นเกษตรกรจำนวน 24,128 ราย เป็นเงิน 55.49 ล้านบาท

ธนาคารออมสิน จึงขอให้ผู้ลงทะเบียนกับธนาคารออมสินตรวจสอบรายชื่อผู้มีรายได้น้อย ของตนเองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องหรือไม่ และได้รับเงินโอนเข้าบัญชีแล้วหรือไม่ได้ที่เว็บไซต์ www.epayment.go.th และ www.gsb.or.th โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับการโอนเงิน เพียงมาเปิดบัญชีเงินฝากภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ซึ่งยังมีเวลาเพียงพอ โดยธนาคารออมสินจะเร่งโอนเงินโดยเร็วที่สุด” นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผย

Cr.บางกอกทูเดย์,ผู้จัดการ

No comments:

Post a Comment