Wednesday, January 18, 2017

ถ่ายภาพ แมลงหวี่ขน ด้วย กล้องจุลทรรศน์ สวยงามชวนตะลึง

กล้องไมโครสโคป (Microscope)


ถ่ายภาพ แมลงหวี่ขน ด้วย กล้องจุลทรรศน์ สวยงามชวนตะลึง   

     
เมื่อกล่าวถึงกล้องจุลทรรศน์หลายๆท่านอาจไม่ค่อยจะได้ใช้ เนื่องจากไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะไรที่ต้องขยายให้เห็นรายละเอียด แต่ถ้าเราได้ลองใช้กล้องจุลทรรศน์แล้วเราจะเห็นสิ่งเล็ก ที่ขยายออกมาจนเราแทบไม่น่าเชื่อ เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ อย่างกรณีของ คุณเคลวิน แมคเกนซี (Kevin Mackenzie) ทีถ่ายภาพแมลงหวี่ ด้วย กล้องไมโครสโคป (Microscope) หรือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (scanning electron microscope) ของแมลงหวี่ขน ไซโคดิเด (Psychodidae) ก็สวยงามชวนตะลึง ซึ่งตัวเต็มไปด้วยขนปุกปุยและมีตารวมมากมาย ทำให้ภาพดังกล่าวคล้ายหลุดออกจากภาพยนตร์ไซไฟ

เคลวิน แมคเกนซี (Kevin Mackenzie) ช่างภาพผู้บันทึกภาพแมลงหวี่จาก กล้องไมโครสโคป (Microscope) และเป็นผู้จัดการของศูนย์อุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์และวิทยาการเนื้อเยื่อ (Microscopy and Histology Core Facility) ของมหาวิทยาอะเบอร์ดีน (University of Aberdeen) สหราชอาณาจักร พบแมลงหวี่ตัวดังกล่าวเกาะอยู่บนผนังห้องครัวของเรา และด้วยความกระหายใคร่รู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ทำให้เขายั้งมือจากการตบแมลงตัวนั้น ซึ่งเขาได้ให้สัมภาษณ์ว่าไม่เคยเห็นแมลงเช่นนี้มาก่อน ดังนั้น จึงอยากจะดูให้แน่ใจภายใต้ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

ในปัจจุบันที่มีกล้องดิจิตอลออกมาวางจำหน่ายมากมายหลายรุ่นหลายราคาตามศักยภาพ แล้วถ้าจะจับกล้องจุลทรรศน์ กับกล้องดิจิตอล นำกล้องทั้งสองประเภทมาชนกัน หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องจับมาชนกัน ไม่กลัวว่ากล้องจะเสียเหรอ ก็ขอยืนยันว่าถ้าจับมาชนกันอย่างมีเทคนิคจะทำให้เราสามารถเก็บภาพสิ่งที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น โดยเราสามารถบันทึกภาพเล็ก ๆ จากกล้องไมโครสโคป (Microscope) ได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวตามความต้องการ เพื่อเอาไปใช้ทางวิทยาศาสตร์ หรือ ไม่แน่อาจจะส่งประกวดจนได้รับรางวัลก็เป็นได้
           
เราก็สามารถนำภาพที่ได้ไปใช้ทำสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนหรือผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ ซึ่งถ้ามีคนช่วยกันทำเยอะๆ ประเทศหรือโลกของเราก็จะได้มีสื่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเยอะตามไปด้วยจริงหรือเปล่า เพิ่มศักยภาพการใช้เครื่องมือวิทย์ฯกับอุปกรณ์อิเลคทรอนิค สำหรับการบันทึกภาพก็ไม่ยาก แต่ต้องเป็นกล้องดิจิตอล ทำไมหนะเหรอ ก็เพราะว่ากล้องดิจิตอลมีเลนส์หน้ากล้องที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับเลนส์ตาของกล้องจุลทรรศน์  นอกจากนั้นหากถ่ายแล้วไม่สวยเราก็สามารถลบทิ้งได้จริงหรือเปล่า ไม่ต้องเปลืองฟิล์มดีจังเลย
           
แต่เคยมีข่าวว่าข้อดีที่ถ่ายผิดหรือไม่สวยแล้วลบทิ้งง่ายกลายเป็นการสร้างนิสัยที่ว่าถ้าไม่ชอบก็เปลี่ยนหรือทิ้งง่ายๆด้วย เรื่องนี้ก็คิดว่าอาจมีผลบ้างไม่มากก็น้อยจริงหรือเปล่า เมื่อมีกล้องถ่ายรูปดิจิตอลแล้ว เราก็มาเตรียมกล้องไมโครสโคป (Microscope) หรือ กล้องจุลทรรศน์ให้พร้อมโดยนำตัวอย่างที่จะศึกษามาส่องดูจนกระทั่งเจอภาพที่เราต้องการ จากนั้นก็เปิดกล้องถ่ายรูปแต่ให้ปิดแฟล็ตในกรณีถ่ายภาพนิ่ง เพราะถ้าเราถ่ายแบบเปิดแฟล็ตแสงจะสะท้อนเข้ามาที่กล้องทำให้ภาพที่ได้มืดสนิทเลย  
         
ส่วนกรณีถ่ายภาพเคลื่อนไหวก็ให้เลือกโหมดถ่ายภาพวีดีโอจากนั้นก็กดบันทึกภาพตามความต้องการเลย(แต่ควรบันทึกเป็นช่วงๆระยะเวลาประมาณ 10-30 วินาที เพื่อนำไปทำสื่อจะได้ดูไม่ซ้ำภาพนานเกินไป) หากต้องถ่ายนานๆ  ขอแนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องมาช่วยถือแทนจะได้ไม่เมื่อยมือ เมื่อได้ภาพมาแล้ว ก็แล้วแต่ว่าจะนำไปตัดต่อเพิ่มเติมเนื้อหาหรือจะนำไปประกอบการบรรยายตามความถนัด หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถสอบถามได้ที่นี่ wutt14@hotmail.com หรือ 0899778987 ลองฝึกดูเผื่อจะได้เป็นช่างภาพมืออาชีพเข้าสักวัน

Cr.Go to Know News,ผู้จัดการ,ว่าที่ ร.ต. วุฒิชัย สังข์พงษ์

No comments:

Post a Comment