ยืนยันเป็น อุกกาบาตหินนอกโลก ตกทะลุหลังคาบ้าน ที่ จ.พิษณุโลก มีต้นกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อย หลังพิสูจน์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ เรามักจะได้ยินข่าวการพบวัตถุประหลาดในบ้านเราจากสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนมากแล้วจะคิดว่าเป็น อุกกาบาต จนบางครั้งก็แอบขำกับการให้ข้อมูลของสื่อที่มักจะรายงานตามกระแสข่าวมากกว่าการให้สาระเท็จจริง การด่วนสรุปโดยปราศจากการวินิจฉัยจากผู้เชียวชาญ และการเชื่ออย่างง่ายเกินไป มันบ่งบอกอะไร ในฐานะของผู้ยึดหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ลองมาฟังนักธรณีวิทยาและนักล่าอุกกาบาตก็มีหน้าที่ช่วยตรวจสอบและอธิบายความเข้าใจให้แก่พวกเราได้เข้าใจ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ก่อนที่เราจะสรุปว่าวัตถุประหลาดนั้นคืออุกกาบาต อยากจะให้ลองดูข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอุกกาบาตที่ได้เล่าเรื่องจากนักล่าอุกกาบาตผู้เชี่ยวชาญดูก่อน แล้วจะรู้จักอุกกาบาตมากขึ้น
อุกกาบาต (Meteorites) คือ ชิ้นส่วนของเหล็ก (irons) หิน (stones) หรือ ส่วนประกอบของหิน-เหล็ก (stony-iron) ที่ตกจากอวกาศผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลก ตามที่มีข่าวว่ามีผู้พบวัตถุตกทะลุหลังคาบ้านที่พิษณุโลก ส่วนใหญ่เชื่อว่าอุกกาบาตมาจากกลุ่มดาวพระเคราะห์น้อยที่โคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์หรือดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ บางก้อนก็มาจากดวงจันทร์และดาวอังคาร มีส่วนน้อยที่มาจากเศษแตกหักของดาวหางวัตถุ อุกกาบาตมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการศึกษาส่วนประกอบภายในโลก โดยตั้งอยู่บนสมติฐานที่ว่ามันเป็นชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับโลก อุกกาบาตอาจแยกได้เป็น 3 ประเภทโดยผ่าน กล้องไมโครสโคป (SEM Microscope) คือ ประเภทหิน ประเภทเหล็ก ประเภทหิน-เหล็ก อุกกาบาตประเภทหินแบ่งย่อย เป็น 2 ชนิด คือ คอนไดร์ท (Chondrites) และ อคอนไดร์ท (Achondrites)
ตามที่ คุณป้าบัวล้อม ชโลมไพร และครอบครัว ผู้พบวัตถุตกทะลุหลังคาบ้านที่พิษณุโลก ดังกล่าว จำนวน 2 ชิ้น ให้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำมาศึกษาและตรวจสอบโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope: SEM) หรือ กล้องไมโครสโคป (SEM Microscope) ผลการตรวจพิสูจน์เบื้องต้น พบว่า เป็นอุกกาบาตประเภทหินชนิดอะคอนไดรท์ โดยเป็นอุกกาบาตที่มีต้นกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อย
นักวิจัยประจำห้องปฏิบัติการ SEM ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พบว่า อุกกาบาตชนิดอะคอนไดรท์มีการค้นพบค่อนข้างน้อยเพียง 8% ของอุกกาบาตที่ตกบนพื้นโลก องค์ประกอบเบื้องต้นเป็นธาตุเหล็กผสมนิกเกิล ซึ่งแตกต่างจากองค์ประกอบของเหล็กบนโลกที่เป็นเหล็กออกไซด์ และแร่ธาตุอื่นๆ เช่น ไพรอกซีน โอลีวีน และ ทรออิไลท์ หลังจากนี้ต้องใช้เวลาในการตรวจพิสูจน์อย่างละเอียดอีกประมาณ 1-2 วัน จะทำให้ทราบประเภทย่อยของอุกกาบาตได้อย่างแน่ชัด อันจะทำให้ทราบว่ามาจากดาวเคราะห์ดวงไหน
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สดร.กล่าวด้วยว่า ต้องขอขอบคุณป้าบัวล้อม ที่มอบชิ้นส่วนวัตถุดังกล่าวมาให้เราได้นำมาศึกษา อันเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในการศึกษาเรียนรู้ และวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ และขอขอบคุณศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติที่อนุญาตให้ใช้ กล้องไมโครสโคป (SEM Microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เครื่องมือวิทยาศาสตร์ระดับสูงในการตรวจพิสูจน์อุกกาบาตดังกล่าว หลังจากนี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จะนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิจัยในรายละเอียด และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการต่อไป.
Cr.ไทยรัฐ
No comments:
Post a Comment