Tuesday, December 13, 2016

พบชิ้นส่วน ไดโนเสาร์ อายุกว่า 99 ล้านปี ในตลาดของเมียนมา

กล้องไมโครสโคป


พบชิ้นส่วน ไดโนเสาร์ อายุกว่า 99 ล้านปี ในตลาดของเมียนมา


วงการวิทยาศาสตร์ฮือฮาหลังนักวิทยาศาสตร์ พบชิ้นส่วนหางไดโนเสาร์ค่อนข้างสมบูรณ์ฝังตัวในก้อนอำพัน คาดมีอายุมากนับ 99 ล้านปี ฝังอยู่ในอำพันเหมือนในภาพยนตร์เรื่อง “จูราสสิก พาร์ค” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบชิ้นส่วนหางของไดโนเสาร์ ฝังตัวอยู่ในก้อนอำพัน ผลการวิเคราะห์จากเครื่องซีทีสแกนและ กล้องไมโครสโคป (Microscope) พบว่าอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีทั้งร่องรอยของเลือดและเส้นขนที่เป็นสีดั่งเดิมรวมอยู่ด้วย คาดอายุมากนับ 99 ล้านปี

นายหลี่ต้า ซิง นักบรรพชีวินวิทยาชาวจีนได้พบตัวอย่างสิ่งมีชีวิตโบราณฝังในอำพันขนาดเท่าผลแอพริคอทแห้งในตลาดค้าอำพันของเมียนมา โดยพ่อค้าชาวเมียนมาคิดว่าเศษชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นชิ้นส่วนของพืชเท่านั้น โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า เป็นของไดโนเสาร์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในสกุลไดโนสาร์ประเภทเทอโรพอด ที่มีไทแรนโนซอรัส เรกซ์ หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า ทีเรกซ์ รวมอยู่ด้วย ซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปเอเชียเมื่อ 99 ล้านปีก่อน

สำหรับก้อนอำพันที่พบเกิดจากยางไม้ที่แข็งตัวจนกลายเป็นก้อน ถูกพบครั้งแรกที่ตลาดในเมืองมิตจีนา รัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมาเมื่อปีที่แล้ว ก่อนจะถูกนำไปเสนอขายให้กับผู้ชอบสะสมเพชรพลอยหายาก ซึ่งแต่เดิมถูกเข้าใจว่าเป็นเพียงวัสดุจากพืชที่ผิดธรรมชาติ  หลังจากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) โดยดร.ไรอัน แมคเคลเลอร์ นักบรรพชีวินวิทยา พิพิธภัณฑ์รอแยลซัสคัทเชวัน ประเทศแคนาดา ยืนยันว่า เป็นชิ้นส่วนของหางไดโนเสาร์ ซึ่งมีการตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างกระดูกแล้วมั่นใจว่าไม่ใช่นก

นายไรอัน แมคเคลลาร์ ชาวแคนาดา ซึ่งร่วมวิจัยกับนายหลี่ต้ามั่นใจว่าการค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบ “ครั้งหนึ่งในชีวิต” เพราะเศษอวัยวะนั้นมีรายละเอียดสมบูรณ์มากที่สุดที่ดูผ่านกล้องไมโครสโคป (Microscope) โดยเศษชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นชิ้นส่วนหางของไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับสัตว์นักล่า “เวโลซิแรปเตอร์” และ “ไทแรนโนซอรัส” หรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า ทีเรกซ์ รวมอยู่ด้วย ชิ้นส่วนหางของไดโนเสาร์ ฝังตัวอยู่ในก้อนอำพัน ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีทั้งร่องรอยของเลือดและเส้นขนที่เป็นสีดั่งเดิมรวมอยู่ด้วย

ผลการวิเคราะห์จากเครื่องซีทีสแกนและกล้องไมโครสโคป (Microscope) ได้ข้อสรุปว่า ปลายขนมีสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างเป็นสีจางหรือขาว ชั้นเนื้อเยื่ออ่อนรอบกระดูกมีร่องรอยธาตุเหล็กจากฮีโมโกลลินที่หลงเหลืออยู่ นายแมคเคลลาร์กล่าวด้วยว่า แม้หางไดโนเสาร์จะมีขนตลอดทั้งหาง แต่มันอาจจะบินไม่ได้ ขนอาจมีไว้เพื่อการผสมพันธุ์หรือระบายความร้อน ขณะเดียวกัน ศาสตราจารย์ไมค์ เบนตัน จากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ มหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษ เผยว่า เป็นเรื่องที่น่าอัจรรย์มากที่ได้เห็นหางไดโนเสาร์ ไปติดกับยางไม้ในลักษณะเช่นนี้ ไม่เคยคาดคิดว่าไดโนเสาร์จะมีการสลัดขน เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม การค้นพบล่าสุดนี้นำไปสู่ความรู้ใหม่เกี่ยวกับนกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว รวมทั้งวิวัฒนาการของนก ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เคยพบเศษขนในอำพันยุคเดียวกับไดโนเสาร์มาแล้ว แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงซากที่พบว่าเป็นไดโนเสาร์ได้อย่างชัดเจน

Cr.ข่าวกรุงเทพธุรกิจ,TNN

No comments:

Post a Comment