เครื่องมือ กำจัด 'ไส้เดือนฝอย' ออกจาก 'พรรณไม้น้ำ' ปลอดภัย เพื่อการส่งออก ต่างประเทศ โดย กรมวิชาการเกษตร
พรรณไม้น้ำเป็นสินค้าที่ไทยมีการส่งออกมาเกือบ 20 ปี โดยส่งออกควบคู่ไปกับปลาสวยงาม แต่ที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะอียูได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบและควบคุมการนำเข้าสินค้าพรรณไม้น้ำเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเกรงว่าจะมีไส้เดือนฝอยศัตรูพืชติดไปกับรากพรรณไม้น้ำที่นำเข้าและไปแพร่ระบาดทำลายพืชปลูกในอียู ซึ่งหากตรวจพบว่า มีไส้เดือนฝอยศัตรูพืชปนเปื้อน สินค้าจะถูกตีกลับหรือถูกเผาทำลายทิ้งทันที กรมวิชาการเกษตรจึงได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาการผลิตพรรณไม้น้ำปลอดไส้เดือนฝอยศัตรูพืชเพื่อการส่งออก” เพื่อยกระดับการผลิตพรรณไม้น้ำของไทยและสร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศคู่ค้า โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
จากปัญหานี้ ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและพัฒนาการผลิตพรรณไม้น้ำปลอดไส้เดือนฝอยศัตรูพืชเพื่อการส่งออก ป็นชุดเครื่องมือตรวจแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากพรรณไม้น้ำที่มีขนาดเล็ก พร้อมติดตั้ง กล้องไมโครสโคป (Microscope)
ซึ่งแก้ปัญหา ไส้เดือนฝอยในสินค้าพรรณไม้น้ำได้สำเร็จ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้ามีทิศทางสดใสในตลาดโลก เพราะ “พรรณไม้น้ำ” เป็นสินค้าเกษตรที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสกุล Anubias ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 50 ล้านบาท
ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาชุดตรวจไส้เดือนฝอยภาคสนาม หรือ NEMA KIT ใช้ตรวจแยกไส้เดือนฝอยซึ่งเป็นศัตรูพืชในกลุ่ม migratory endoparasite เป็นชุดเครื่องมือตรวจแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากพรรณไม้น้ำที่มีขนาดเล็ก พร้อมติดตั้ง กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็น กล้องจุลทรรศน์ (Mini microscope) กำลังขยาย 50 เท่า ตรวจหาไส้เดือนฝอยที่แยกจากรากได้ทันที ซึ่งเกษตรกรสามารถพกพากล้องจุลทรรศน์ไปใช้ในแปลงปลูกพืชที่ประสบปัญหาการปนเปื้อนไส้เดือนฝอยในระบบรากได้ อาทิ พรรณไม้น้ำ กล้วยไม้ หน้าวัว ฟิโลเดนดรอน กวักมรกต และไม้ประดับอื่นๆ เพื่อติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไส้เดือนศัตรูพืชได้ด้วยตนเอง
โดยหลักการทำงานของเครื่องมือชุดตรวจไส้เดือนฝอยภาคสนามพร้อมติดตั้ง กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็นกระบวนการแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากพืชด้วยคลื่นเสียงอัลตราโซนิค ที่ความถี่ 40 กิโลเฮิรตซ์ ผลักดันให้ไส้เดือนฝอยที่อาศัยอยู่ภายในรากเคลื่อนที่ออกมา โดยมีน้ำเป็นตัวกลางส่งคลื่นความถี่สู่รากพืช มีผลทำให้โมเลกุลของของเหลวเกิดการบีบอัดและคลายตัวเป็นจังหวะ เกิดเป็นฟองอากาศขนาดเล็กๆ ที่มีพลังงานแฝง ซึ่งสามารถเข้าซอกซอนในระบบรากและรบกวนหรือขับไล่ไส้เดือนฝอยให้เคลื่อนที่ออกมาสู่น้ำ โดยใช้เวลาตรวจเพียง 20 นาทีก็ทราบผล และตรวจได้ครั้งละ 2 ตัวอย่าง มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้เครื่องพ่นหมอก
กรมวิชาการเกษตรได้มอบชุดตรวจเครื่องมือตรวจแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากพรรณไม้น้ำที่มีขนาดเล็ก พร้อมติดตั้ง กล้องไมโครสโคป (Microscope) นี้ให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชกว่า 20 ชุด นำไปเป็นเครื่องมือตรวจสอบพืชต้องสงสัยการปนเปื้อนไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่อาจติดมากับสินค้าเกษตรนำเข้า เช่น หอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ซึ่งจะทราบผลอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการส่งตัวอย่างตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
อีกทั้ง นักวิจัยด้านไส้เดือนฝอยของออสเตรเลียสนใจได้นำเทคนิคการตรวจแยกไส้เดือนฝอยจากรากพืชโดยใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิค ด้วยเครื่องมือตรวจแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากพรรณไม้น้ำที่มีขนาดเล็ก พร้อมติดตั้ง กล้องไมโครสโคป (Microscope) นี้ พร้อมสนับสนุนให้กับ ส.ป.ป.ลาว และกัมพูชา ใช้ชุดตรวจไส้เดือนฝอยภาคสนามโดยใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิคนี้ด้วย เกษตรกรท่านใดสนใจ “เครื่องมือชุดตรวจสอบไส้เดือนฝอยภาคสนาม” เทคนิคการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในฟาร์มผลิตพรรณไม้น้ำ สอบถามได้ที่ ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด
Cr.คมชัดลึก
No comments:
Post a Comment