Monday, January 9, 2017

ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย เล็กที่สุดในโลก ลงบนเส้นผม ขนาดเล็กกว่าเส้นผม 10 เท่า ดูผ่าน กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน นวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

กล้องไมโครสโคป (Microscope)


ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย เล็กที่สุดในโลก ลงบนเส้นผม ขนาดเล็กกว่าเส้นผม 10 เท่า ดูผ่าน กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน นวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ มทส. โชว์นวัตกรรม สลักตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเล็กที่สุดในโลก ลงบนเส้นผม สำหรับตราสัญลักษณ์ของ มทส. เล็กที่สุดในโลก บนเส้นผม นี้มีขนาดเส้นเล็ก 7X10 ตารางไมโครเมตร ซึ่งเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมราว 10 เท่า โดยตราสัญลักษณ์มีรายละเอียดชัดเจน เป็นภาพท้าวสุรนารี หรือย่าโม ยืนอยู่ตรงกลาง มีเส้นโค้งงอนหงายขนาบ 2 ข้าง ข้างละ 4 เส้น และมีภาพใบไม้บนเฟืองจักรรองรับฐานของภาพท้าวสุรนารี ซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) แบบส่องกราดประสิทธิภาพสูง ( Field Emission Scanning Electron Microscope) ในการส่องจึงจะสามารถมองเห็นได้

การสลักตราสัญลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เล็กที่สุดในโลก บนเส้นผม ขนาดเล็กกว่าเส้นผม 10 เท่า มีรูป "ย่าโม" ยืนถือดาบอย่างชัดเจน โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Focused lon Beam หรือ FIB ซึ่งเป็นเครื่องมือที่โฟกัสลำไอออน สร้างลวดลายลงบนเส้นผม หรือชิ้นงานอื่นๆ โดยมีความละเอียดในการวาดภาพในระดับนาโนเมตร ซึ่งทำให้มือชนิดนี้เป็นที่แพร่หลาย ในการเรียนการสอนการวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) แบบส่องกราดประสิทธิภาพสูง จึงจะสามารถมองเห็นได้

ในรอบปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ ภายใต้โครงการ DPL ทำให้สามารถจัดหาเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาชีพ โดยส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มครุภัณฑ์กล้องจุลทรรศน์ประสิทธิภาพสูงชนิดอื่นๆ อีก อาทิ Transmission Electron Microscope (TEM) หรือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน มีกำลังขยายได้สูงถึง 2,500,000 เท่า ซึ่งสามารถมองเห็นการจัดเรียงตัวของอะตอมในโครงผลึกชนิดต่างๆ ได้ Laser Scanning Confocal Microscope (LSCM) หรือ กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอล ซึ่งใช้แสงเลเซอร์ในการสแกนสร้างภาพ และมีกำลังแยกแยะมากกว่ากล้องไมโครสโคป (Microscope)  ที่ใช้แสงทั่วไป

โดยกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอล ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีนำมาใช้ สามารถสร้างภาพสามมิติของเซลล์ หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กได้ Atomic Force Microscope (AFM) หรือ กล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม สามารถถ่ายภาพบนพื้นผิวที่มีขนาดเล็ก โดยสามารถมีกำลังแยกในระดับอะตอมได้ นอกจากนี้ เครื่องมือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) ชนิดนี้ยังมีความสามารถสร้างลวดลายลงบนพื้นผิวเรียบบนชิ้นงานด้วยความละเอียดในระดับนาโนเมตรได้ สำหรับเครื่องมือเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการค้นคว้าวิจัยโครงสร้างสิ่งที่เล็กระดับนาโนเมตร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของคนเราได้

หากต้องการทราบว่าเชื้อโรคบางตัว มีโครงสร้างเช่นใด จากกล้องไมโครสโคป (Microscope) เมื่อทราบแล้ว ก็จะนำข้อมูลที่ได้ไปค้นหาสิ่งที่สามารถฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ที่ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์ของ มทส. ซึ่งห้องปฏิบัติการนี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อรวมทรัพยากรในการสนับสนุนการศึกษาและวิจัย โดยเฉพาะเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าไว้ด้วยกัน ให้ได้ประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ปีที่ผ่านมา มทส. ยังได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการจุลทรรศน์แห่งประเทศไทย โดยจะมีนักวิชาการด้านจุลทรรศน์จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ เข้าร่วมเสนอผลงานกว่า 150 คน

Cr.ไทยรัฐ

No comments:

Post a Comment