Sunday, January 7, 2018

นักวิจัยหญิง ประเทศพม่า

นักวิจัยหญิง ประเทศพม่า

นักวิจัยหญิง ประเทศพม่า


กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ นำได้นำไปใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากกมาย อาทิเช่น หลายคนนำไปส่องปรสิต เกสรดอกไม้ เซลล์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งนำกล้องจุลทรรศน์ไปส่องอัญมณี ถ่ายภาพส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูว่าเป็นของปลอมหรือไม่ ผู้เลี้ยงกุ้งนำ กล้องจุลทรรศน์ ไปส่องถ่ายภาพแล้วส่งให้สัตวแพทย์ดูว่ากุ้งของเขาเป็นโรคหรือไม่ หรือนำกล้องจุลทรรศน์งานวิจัยเปลือกกุ้งเหลือทิ้งจาก นักวิจัยชาวพม่าที่มีผลงานโดดเด่นช่วยให้เกษตรกรชาวพม่าได้รับประโยชน์มากมายจากผลการวิจัยนี้ แต่หากรู้ไหมว่า นักวิจัยชาวพม่ากลับมีสัดส่วนเป็นนักวิจัยหญิงเกินกว่าครึ่งของนักวิจัยชาย

สัดส่วนนักวิจัยหญิงและชาย
ส่วนหนึ่งของรายงานขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เกี่ยวกับผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ระบุว่าหลายประเทศมีสัดส่วนนักวิจัยผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยประเทศที่โดดเด่นอย่างมากในเอเชียคือ เมียนมา ซึ่งมีสัดส่วนนักวิจัยเป็นผู้หญิง 85.5% ถือว่าสูงสุดในเอเชีย ขณะที่สัดส่วนทั่วโลกมีไม่ถึง 30% เมียนมาเป็นแบบอย่างของความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์หรือไม่ ?

อาจารย์มหาวิทยาลัย ประเทศพม่า
จากการเปิดเผย ยูเนสโกเองยอมรับว่าจริง ๆ แล้วตัวเลขอาจจะไม่สูงถึงขนาดนั้น แม้ว่าตัวเลขจริงอาจไม่สูงถึง 85.5% แต่ก็ดูเหมือนว่านักวิจัยส่วนใหญ่ในเมียนมาเป็นผู้หญิง เพราะข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำรายงานนั้นได้มาจากข้อมูลที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมียนมา รวบรวมขึ้นเมื่อปี 2002 และมหาวิทยาลัยของเมียนมาหลายแห่งอาจนับรวมอาจารย์ผู้สอนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ทำงานวิจัย

ผลวิจัยด้วย กล้องจุลทรรศน์ นักวิจัยหญิง
จากการตรวจสอบจำนวนเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยย่างกุ้งในปี 2013 พบว่าในจำนวนผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ 45 คน ในจำนวนนี้ 31 คน เป็นผู้หญิง หนึ่งในนั้นเป็นนักวิจัยหญิง ดร. ทาซิน ฮาน เป็นหัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา ดร. ทาซิน ฮาน เล่าถึงผลงานวิจัยผ่าน กล้องจุลทรรศน์ ของเธอเกี่ยวกับการใช้เปลือกกุ้งเหลือทิ้งเพื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยว่า ผลงานนี้มีประโยชน์ต่อเกษตรกรของเรามา ถือเป็นงานวิจัยที่ให้ผลคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับประเทศพม่า เธอกล่าว

งานวิจัย ถูกทอดทิ้ง
ดร. ฮาน หัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา กล่าวว่าศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสายงานเดียวกับเธอ ทุก ๆ 9 ใน 10 คน เป็นผู้หญิง แต่พวกเธอก็ไม่ต่างจากนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในเมียนมาที่เป็นพนักงานของรัฐ นั่นหมายความว่า งานที่ทำไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สูงนัก จากสภาพเศรษฐกิจของเมียนมาทำให้ผู้ชายจำต้องทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว จึงไม่ค่อยสนใจทำงานวิจัย ดร. ฮาน กล่าว

รายได้ นักวิจัย ชาวพม่า
ด้วยเงินเดือนของเธอ ซึ่งเป็นระดับบริหาร อยู่ที่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (หรือประมาณ 10,500 บาท) เธอบอกว่าเงินเดือนจำนวนนี้ไม่เพียงพอจุนเจือครอบครัว ดังนั้นผู้ชายจึงไม่เลือกที่จะทำอาชีพนี้แต่จะหางานทำที่ให้มีรายได้มากกว่านักวิจัย นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ของทางการเมียนมา ยังคงเผชิญความท้าทายอีกหลายอย่าง รวมถึงการขาดแคลนทรัพยากร อุปกรณ์ด้านงานวิจัย เช่น กล้องจุลทรรศน์ ฯลฯ และความเสี่ยงที่จะถูกโอนย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยซึ่งไม่มีแผนกวิจัย

ความภูมิใจ นักวิจัย ชาวพม่า
ดร. ฮาน หัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา ก็เคยถูกย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยในเมืองที่อยู่ห่างไกล โดยไม่มีแผนกวิจัยเป็นเวลา 6 ปี และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เธอเพิ่งถูกย้ายมาประจำในหน่วยงานที่เธอสามารถทำงานวิจัยได้อีกครั้ง เราได้กลับมามีชีวิตที่มีความสุขอีกครั้งจากงานวิจัยที่เธอถนัด เธอกล่าวด้วยความภูมิใจและรอยยิ้มแห่งความสุข

Cr.BBC,ครอบครัวข่าว

ผ่าตัดแผลเล็ก ผ่าน กล้องจุลทรรศน์

ผ่าตัดแผลเล็ก ผ่าน กล้องจุลทรรศน์

 ผ่าตัดแผลเล็ก ผ่าน กล้องจุลทรรศน์


ในอดีตหากพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย และอดไม่ได้ที่จะเกิดความวิตกกังวลไปต่างๆ นานา ไหนจะกลัวเจ็บ แล้วยังต้องเสี่ยงกับผลลัพธ์และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดอีกต่างหาก จึงไม่แปลกที่คนไข้หลายรายจะปฏิเสธการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้วหันไปพึ่งวิธีอื่นแทน แต่ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้รับการพัฒนาจนสามารถคิดค้นการผ่าตัดแผลเล็ก ด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดส่องกล้องหรือผ่าตัดผ่าน กล้องจุลทรรศน์ ขึ้นมา คุณจะรู้ว่า การผ่าตัดแผลเล็ก นั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไปแล้ว

สถาบัน MMI & ล่ำหน้าเครื่องมือแพทย์
สถาบัน MMI (Medical Microinstruments S.r.l.) ก่อตั้งในปี 2558 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองกาลชี จังหวัดปิซา ประเทศอิตาลี ทีมงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์สำหรับการผ่าตัดส่องกล้องหรือผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ให้ง่ายขึ้น ด้วยอุปกรณ์แขนกลหุ่นยนต์จิ๋วเหมาะสำหรับเหล่าศัลยแพทย์ทั่วโลก สามารถทำการผ่าตัดส่องกล้องด้วยกระบวนการที่ทันสมัยขึ้นได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนการผ่าตัดเล็ก ๆ สำหรับผู้ป่วย โรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง

หุ่นยนต์แขนกลจิ๋ว
สถาบัน MMI (Medical Microinstruments S.r.l.) ผู้พัฒนาโซลูชั่นหุ่นยนต์ทีมาพร้อมแขนกลจิ๋วสุดล้ำเพื่อทลายข้อจำกัดในวงการแพทย์ ประกาศเปิดตัวหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วที่คิดค้นขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการทำการศัลยกรรมผ่าตัดผ่าน กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ศัลยแพทย์สามารถควบคุมอุปกรณ์หุ่นยนต์แขนกลจิ๋วขนาดเล็กๆ 2 แขนมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผ่าตัดแผลเล็กเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากบาดแผล เช่นเดียวกับการผ่าตัดเนื้องอกในเนื้อเยื่ออ่อนและกระดูก ทั้งยังมีศักยภาพในการเพิ่มอัตราความสำเร็จในการผ่าตัดแผลเล็กและผลลัพธ์ดีเลิศในการรักษาผู้ป่วยอีกด้วย

ผ่าตัดส่อง กล้องจุลทรรศน์
อุปกรณ์ทางการแพทย์ของสถาบัน MMI กล้องจุลทรรศน์มาพร้อมกับหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วที่เล็กที่สุดด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกเพียง 3 มิลลิเมตร และมีปลายที่เล็กเพียง 150 ไมครอน แขนกลจิ๋วนี้เป็นกุญแจสำคัญในการทำการผ่าตัดแผลเล็กด้วยหุ่นยนต์ทางคลินิกทีปลอดภัยและแม่นยำ และเปิดโอกาสให้สามารถควบคุมการเย็บแผลขนาดเล็กตั้งแต่ 9-0 ไปจนถึง 12-0 ผ่านกล้องจุลทรรศน์ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ศัลยแพทย์ใช้อุปกรณ์จุลศัลยกรรมหรือหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วนี้ขณะที่นั่งอยู่ข้างเตียงผ่าตัดและมองการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วจะจับการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ ขณะเดียวกันแขนกลก็จะเคลื่อนไหวตาม

ผ่าตัดต่อเส้นเลือดแดงผ่านกล้อง
ศาสตราจารย์ Marco Innocenti หัวหน้าแผนกจุลศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาล Careggi University Hospital ในเมืองฟลอเรนซ์ ได้นำเสนอผลงานการผ่าตัดส่องกล้องหรือผ่าตัดผ่านกล้องกล้องจุลทรรศน์ด้วยหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วของสถาบัน MMI ซึ่งรวมถึงหุ่นยนต์ผ่าตัดต่อเส้นเลือดแดงขนาด 0.35 มม. ณ การประชุม Congress of World Society for Reconstructive Microsurgery ครั้งที่ 9 ในกรุงโซลของเกาหลีใต้

อนาคต ความก้าวหน้า จุลศัลยกรรม
โดยเขากล่าวว่า หุ่นยนต์ของสถาบัน MMI จะขับเคลื่อนวงการจุลศัลยกรรมไปข้างหน้า เหนือขีดความสามารถของมือมนุษย์ ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้เหล่าศัลยแพทย์จำนวนมากสามารถทำการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ และยังเปิดโอกาสในการผ่าตัดระดับซูเปอร์ไมโครเซอร์เจอรี เช่น การเสริมสร้างน้ำเหลือง ให้กับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าด้วย เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ลดอาการเจ็บแผล และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น

Cr.กรุงเทพธุรกิจ

ห้องเรียนอัจฉริยะ

ห้องเรียนอัจฉริยะ

ห้องเรียนอัจฉริยะ


“ห้องเรียนอัจฉริยะ”(Smart Classroom) ด้วยแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใกล้ตัวราคาถูกและเข้าถึงง่ายให้เกิดประโยชน์กับการเรียนการสอน นำร่องด้วยการเปลี่ยนสมาร์ทโฟน (Smart Phone)ในมือเด็กนักเรียนให้เป็น  กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เด็กแทบทุกคนใช้สมาร์ทโฟน (Smart Phone) และเทรนด์เทคโนโลยีก็ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาถูกและเข้าถึงง่าย กล้องจิ๋วบนมือถือสามารถนำไปเป็นสื่อการสอนที่ทรงประสิทธิภาพ ถือเป็นวิวัฒนาการที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ ศ.สุพจน์ หารหนองบัว นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์กล่าว

สิ่งประดิษฐ์ เลนส์ขยาย ต้นทุนต่ำ
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท บวกกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ในการพัฒนาเลนส์ขยายส่องอัญมณีจึงเกิดแนวคิดที่จะต่อยอดสู่สื่อการเรียนการสอนที่ก้าวไปอีกขั้น และกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)ต้นทุนต่ำ ที่เน้นการเรียนเชิงปฏิบัติการในทุกสาระวิชาสำหรับชั้นประถมปลายถึงมัธยมต้น  เราสามารถผลิตเลนส์ขยายที่เปลี่ยนกล้องจิ๋วในโทรศัพท์มือถือเป็น กล้องไมโครสโคป (Microscope) กำลังขยาย 10x-300x ต้นทุนเพียง 1 บาท ข้อได้เปรียบตรงนี้ทำให้สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือหลักสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะ ที่มีอุปกรณ์เพียง 6 ชนิด รศ.สนอง เอกสิทธิ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ กล่าว

อุปกรณ์ใน ห้องเรียนอัจฉริยะ
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)แบ่งเป็น 3 ขนาดตามจำนวนผู้เรียนคือ ขนาดเล็กรองรับนักเรียน 15-20 คน ราคา 2 แสนบาท, ขนาดกลาง 20-30 คน ราคา3 แสนบาท และขนาดใหญ่ 30-40 คน ราคา 4 แสนบาท โดยมีอุปกรณ์ 6 ชนิดได้แก่ สมาร์ททีวี (Smart TV) ที่สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับแท็บเล็ต (Tablet)หรือสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ผ่าน Screen Mirroring Function เพื่อใช้สอน สาธิต หรือเชื่อมต่อผลงานของนักเรียน, แทบเล็ตสำหรับครูผู้สอน, สมาร์ทโฟน (Smart Phone)หรือแท็บเล็ต (Tablet) 10-30 เครื่องสำหรับนักเรียนใช้ในและนอกห้องเรียน, อินเทอร์เน็ตซิม, ฮาร์ดดิสท์เก็บข้อมูลพร้อมคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทเลนส์ (Smart Lens) เลนส์ขยาย

เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วย กล้องจุลทรรศน์ แบบง่าย ๆ
“เราเปลี่ยนสมาร์ทโฟน (Smart Phone) เป็น กล้องไมโครสโคป (Microscope) เคลื่อนที่ เทียบได้กับ กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)กำลังขยายปานกลาง ให้นักเรียนสนุกกับการถ่ายรูป บันทึกวีดิโอ เสียง ส่งต่อข้อมูล สร้างบทเรียน โครงงานหรือนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscope)รูปแบบใหม่ให้กับวิทยาศาสตร์ รูปแบบของห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)ไม่เน้นโครงสร้างของห้องเรียน แต่เน้นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ด้วยอุปกรณ์การสอนน้อยที่สุดแต่กระตุ้นให้เด็กสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนมากที่สุด ” รศ.สนอง กล่าว

ทีมพัฒนาใช้วิธีการอบรมครูที่สนใจเกี่ยวกับวิธีการใช้อุปกรณ์ กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) รวมถึงการพัฒนาสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์การเรียนของเด็กในวิชา ชั้นปีและพื้นที่นั้นๆขณะเดียวกัน คณะวิทย์ จุฬาฯ ก็ร่วมพัฒนาชุดการสอนเบื้องต้นประมาณ 10 ชุด เช่น Frozen เป็นการเรียนรู้ว่า แม่คะนิ้งเกิดได้อย่างไร

พัฒนาเด็กไทย เรียนรู้ผ่าน ห้องเรียนอัจฉริยะ
รศ.สนอง เราเชื่อว่า ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์มีศักยภาพพอที่จะสร้างสรรค์สื่อการสอนใหม่ๆ มากระตุ้นความสนใจเด็ก เช่นเดียวกับที่สามารถนำสื่อการสอนนั้นเผยแพร่ให้สาธารณะ ยกตัวอย่างโครงงานที่กำลังพัฒนาร่วมกับคณะครุศาสตร์ โดยให้เด็กใช้สมาร์ทเลนส์ (Smart Lens) เลนส์ขยายส่องธนบัตรดูรายละเอียดที่สื่อถึงประเทศนั้นๆ เช่น ผลไม้ประจำชาติ บุคคลสำคัญหรือสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์ อีกทั้งให้เด็กหาข้อมูลเพิ่ม ถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ ทำรายงานอิเล็กทรอนิกส์ส่งครู

เราต้องการเปลี่ยนแนวคิดที่เด็กเรียนแบบเป็นผู้เสพ รับสิ่งที่ครูสอน ไปสู่การเป็นผู้สร้าง ให้เด็กได้เรียนรู้และคิดที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ ซึ่งวิทยาศาสตร์และระบบการเรียนที่ดีจะเป็นตัวกระตุ้นความสนใจ เปิดโอกาสให้คิดและทำสิ่งใหม่ได้ ทั้งนี้ หากโรงเรียนที่มีความพร้อม แต่สนใจจะมีห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ก็สามารถติดต่อมาได้ นอกจากนี้ทางสมาคมฯจะสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)ต้นทุนต่ำ 60 ห้อง มอบให้โรงเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยแห่งแรกมอบให้กับโรงเรียนวัดสิงห์ จ.ชัยนาท นายกสมาคมฯ กล่าว

Cr.กรุงเทพธุรกิจ

สมาร์ทโฟน ตรวจสเปิร์ม ได้แล้ว

สมาร์ทโฟน ตรวจสเปิร์ม ได้แล้ว 


สมาร์ทโฟน ตรวจสเปิร์ม ได้แล้ว


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสมาร์ทโฟนและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน ก้าวไกลไม่น้อยเลยทีเดียว มักจะมีงานวิจัยเรื่องราวใหม่ๆ มาให้แปลกใจถึงความสุดยอดของ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อย่างที่งานวิจัยนี้ทีสหรัฐอเมริกา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮูสตัน (University of Houston) ออกแบบเลนส์ขยายกล้องจุลทรรศน์หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope)ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนเกือบทุกรุ่นทุกค่าย มีกำลังขยายภาพสูงถึง 120 เท่าที่เดียว ต้นทุนการผลิตถูกมากเพียงสามเซนต์หรือประมาณ 1 บาทเท่านั้น นักวิจัยกล่าวว่าเลนส์ขยายดังกล่าวใช้งานง่ายๆ ติดตั้งโดยตรงกับเลนส์ของสมาร์ทโฟน(SmartPhone)โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมใดๆ เลนส์ขยายกล้องไมโครสโคป (Microscope) นี้เหมาะสำหรับนักเรียน นักวิจัยหรือแพทย์ในพื้นที่ที่ห่างไกลและยากไร้เครื่องมือทันสมัย เลนส์อุปกรณ์นี้มีประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ช่วยคลินิกขนาดเล็กที่ยู่ห่างไกลตัวเมืองสามารถแชร์ภาพที่ได้กับผู้เชี่ยวชาญในที่อื่นๆได้

ปกติเลนส์มาตรฐานทั่วๆไปผลิตจากแก้วขัดหรือพลาสติกหล่อแบบเพื่อให้ความยาวโฟกัสเฉพาะและขยายภาพได้ แต่เลนส์ขยายใหม่นี้ของมหาวิทยาลัยฮูสตันมีส่วนประกอบเป็นโพลิเมอร์ที่รู้จักกันในนาม “โพลิไดเมทิลไซลอกเซน” (Polydimethylsiloxane หรือ PDMS) ความนุ่มคล้ายคอนแทคเลนส์  นายเหวย-ชวนฉือ (Wei-Chuan Shih) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยฮูสตัน ผู้ค้นพบเลนส์ขยายชนิดใหม่โดยบังเอิญ อธิบายเพิ่มเติมว่า ระหว่างมีการทดลองเทคโนโลยีแสงชีวภาพหรือนาโนไบโอโฟโทนิกส์ และนาโนฟลูอิดิกส์ บังเอิญทำวัสดุบางอย่างหยดลงไปในเครื่องกวนสารแบบให้ความร้อน และได้สังเกตเห็นปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของวัตถุจึงได้นำวิธีการดังกล่าวมาใช้ผลิตเลนส์ขยายนี้

ก่อนหน้านี้ได้มีการพัฒนาเลนส์กล้องขยายของกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคป (Microscope) ติดลงบนสมาร์ทโฟน(SmartPhone)มาก่อน เลนส์ผลิตจากโพลีเมอร์กำลังขยายต่ำ ที่เรียกว่า “Micro Phone Lens” เมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ เลนส์จากกล้องขยายชนิดใหม่ที่ผลิตได้ยังคล้ายกับผลงานของทีมงานนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียที่พัฒนาเลนส์ด้วยการผลิตจากโพลิไดเมทิลไซลอกเซนเช่นเดียวกัน แต่เลนส์ขยายใหม่นี้มีข้อได้เปรียบด้านการผลิตสามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ ทั้งยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายถูกกว่า ปัจจุบันเลนส์นี้ถูกผลิตด้วยมือจึงปรับคุณสมบัติตามความเหมาะสมได้คล้ายกับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท

ต่อยอดการพัฒนาเลนส์กล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคป (Microscope) ด้วยทีมงานนักวิทยาศาตร์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย University of Illinois ชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นวิธีทำให้กล้องวีดีโอจิ๋วบนสมาร์ทโฟนและเลนส์กล้องจุลทรรศน์สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างสเปิร์มได้ โดยทำงานร่วมกันกับแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นเฉพาะ เพื่อประเมินและวิเคราะห์ รวมถึงมีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการอย่างไรที่จะช่วยทำให้ตัวสเปิร์มมีความแข็งแรง  นาย Yoshitomo Kobori หัวหน้าทีมผู้พัฒนาและวิจัยระบุว่าผู้ทดสอบต้องนำตัวสเปิร์มมาและทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที และจึงนำตัวอย่างตัวสเปิร์มวางบนแผ่นพลาสติกจากนั้นใช้กล้องจิ๋วสมาร์ทโฟนที่ติดกล้องจุลทรรศน์มาเป็นกล้องขยายส่องเพื่อดูคุณภาพของตัวสเปิร์ม หรือหากไม่แน่ใจก็สามารถใช้ กล้องวีดีโอจิ๋ว บนสมาร์ทโฟนบันทึกถ่ายวิดีโอแล้วนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนาย Yoshitomo Kobori  บอกว่าแรงบันดาลใจ ในการนำเรื่องกล้องขยายหรือกล้องไมโครสโคป (Microscope)วิเคราะห์ตัวอย่างสเปิร์มนี้มาพัฒนาอย่างจริงจัง เนื่องจากผู้ชายในประเทศต้องพบเจอกับปัญหาสเปิร์มไม่แข็งแรงและอยากรู้ผลพร้อมคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ 

หัวหน้าทีมยังทิ้งท้ายอีกว่า วิธีดังกล่าวจะทำให้คุณผู้ชายมีความสบายใจในความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่คุณผู้ชายช่วงสูงวัยเท่านั้น ผู้ชายช่วงวัยรุ่นก็พบเจอปัญหานี้ได้เช่นกัน เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์อย่าง "สเปิร์ม" แต่ทว่าหากจะต้องไปตรวจก็อาจเสียเวลา ไม่สบายใจ และเกิดความเขินอาย อย่างไรก็ดีกล้องจิ๋วบนสมาร์ทโฟนกับอุปกรณ์เสริมเลนส์กล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคป (Microscope)ก็สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ทว่าอุปกรณ์นี้มีวางขายแค่เฉพาะประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนประเทศอื่นๆ คงต้องรอไปก่อนแต่จะมีวางจำหน่ายในอนาคตแน่ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของงานวิจัยเรื่องราวดี ๆ ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง ว่าแทบไม่น่าเชื่อว่าสมาร์ทโฟนสามารถทำอะไรได้แค่โทรศัพท์มือถือเท่านั้น 

Cr.โลกวันนี้

กล้องจุลทรรศน์ รางวัลโนเบล

กล้องจุลทรรศน์ รางวัลโนเบล

กล้องจุลทรรศน์ รางวัลโนเบล


การประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ มี 3 นักวิทยาศาสตร์จาก 3 ชาติ คว้ารางวัลร่วมกันจากการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ไขความลับทางเคมีในระดับโมเลกุล The Royal Swedish Academy of Sciences ตัดสินรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2017 แก่ Jacques Dubochet จาก University of Lausanne สวิตเซอร์แลนด์ Joachim Frank จาก Columbia University สหรัฐอเมริกา และ Richard Henderson จาก MRC Laboratory of Molecular Biology Cambridge สหราชอาณาจักร สำหรับการพัฒนา กล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอน cryo-electron microscopy เพื่อใช้สำหรับแสดงโครงสร้างที่มีความละเอียดสูงของชีวโมเลกุลในสารละลาย

กล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอน
ปัจจุบัน นักวิจัยสามารถทำให้ชีวโมเลกุลเคลื่อนที่ได้พอประมาณและเห็นขบวนการซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษาเคมีชีวภาพของโลก ด้วยการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่สามารถสร้างภาพของโมเลกุลที่กำลังเคลื่อนไหว นี่ถือเป็นนวัตกรรมที่นำพาโลกเข้าสู่ยุคใหม่แห่งการศึกษาชีวเคมี ที่ทำให้สามารถสร้างภาพ 3 มิติของโมเลกุล ซึ่งทำให้เห็นกระบวนการเคมีของเซลล์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งช่วยทั้งการเข้าใจพื้นฐานทางเคมีของชีวิตและและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาและเวชภัณฑ์ในอนาคต

เทคโนโลยี กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy) เชื่อมาเป็นเวลานานว่าเหมาะเพียงให้ภาพสำหรับวัตถุไม่มีชีวิตเพราะว่าลำแสงอิเล็กตรอนที่ทรงพลังทำลายวัสดุทางชีววิทยา แต่ในปี 1990 Richard Henderson ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี กล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนเพื่อสร้างภาพสามมิติของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ความละเอียดระดับอะตอม ความสำเร็จครั้งนี้พิสูจน์ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนี้

กล้องจุลทรรศน์ สร้างภาพสามมิติ
Joachim Frank ทำให้เทคโนโลยีกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนนี้นักวิจัยสามารถประยุกต์ใช้ทั่วไป โดยระหว่างปี 1975 และ 1986 ได้พัฒนาวิธีการจัดการกับภาพซึ่งภาพสองมิติที่คลุมเครือของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้รับการวิเคราะห์และรวมเข้าด้วยกันเพื่อทำให้ได้โครงสร้างสามมิติที่คมชัด

ภาพชีวโมเลกุล จาก กล้องจุลทรรศน์
Jacques Dubochet เติมน้ำไปยังกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน น้ำระเหยในสูญญากาศของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งทำให้ชีวโมเลกุลเสียหาย ในช่วงต้นของปี 1980 Dubochet ได้ทำให้น้ำเย็นอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้น้ำอยู่ในรูปของเหลวรอบๆ สิ่งตัวอย่างชีวโมเลกุล ทำให้ชีวโมเลกุลนั้นคงรูปตามธรรมชาติแม้อยู่ในสูญญากาศ

รางวัลโนเบล สาขาเคมี 2017
หลังจากการค้นพบเหล่านี้ พื้นฐานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้รับการพัฒนาให้เหมาะสม ความละเอียดระดับอะตอมที่ต้องการทำสำเร็จในปี 2013 และปัจจุบันนักวิจัยสามารถผลิตโครงสร้างสามมิติของชีวโมเลกุลได้เป็นผลสำเร็จจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน นักวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีทั้ง 3 จะได้รับเงินรางวัล 1 ล้าน 1 แสนดอลลาร์ หรือราว 37 ล้าน 4 แสนบาท โดยจะมีการประกาศ รางวัลโนเบลสาขาเคมีปี 2017 เมือเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

Cr.สวทช,วีโอเอไทย