นักวิจัยหญิง ประเทศพม่า


กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ นำได้นำไปใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากกมาย อาทิเช่น หลายคนนำไปส่องปรสิต เกสรดอกไม้ เซลล์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งนำกล้องจุลทรรศน์ไปส่องอัญมณี ถ่ายภาพส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูว่าเป็นของปลอมหรือไม่ ผู้เลี้ยงกุ้งนำ กล้องจุลทรรศน์ ไปส่องถ่ายภาพแล้วส่งให้สัตวแพทย์ดูว่ากุ้งของเขาเป็นโรคหรือไม่ หรือนำกล้องจุลทรรศน์งานวิจัยเปลือกกุ้งเหลือทิ้งจาก นักวิจัยชาวพม่าที่มีผลงานโดดเด่นช่วยให้เกษตรกรชาวพม่าได้รับประโยชน์มากมายจากผลการวิจัยนี้ แต่หากรู้ไหมว่า นักวิจัยชาวพม่ากลับมีสัดส่วนเป็นนักวิจัยหญิงเกินกว่าครึ่งของนักวิจัยชาย

สัดส่วนนักวิจัยหญิงและชาย
ส่วนหนึ่งของรายงานขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เกี่ยวกับผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ระบุว่าหลายประเทศมีสัดส่วนนักวิจัยผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยประเทศที่โดดเด่นอย่างมากในเอเชียคือ เมียนมา ซึ่งมีสัดส่วนนักวิจัยเป็นผู้หญิง 85.5% ถือว่าสูงสุดในเอเชีย ขณะที่สัดส่วนทั่วโลกมีไม่ถึง 30% เมียนมาเป็นแบบอย่างของความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์หรือไม่ ?

อาจารย์มหาวิทยาลัย ประเทศพม่า
จากการเปิดเผย ยูเนสโกเองยอมรับว่าจริง ๆ แล้วตัวเลขอาจจะไม่สูงถึงขนาดนั้น แม้ว่าตัวเลขจริงอาจไม่สูงถึง 85.5% แต่ก็ดูเหมือนว่านักวิจัยส่วนใหญ่ในเมียนมาเป็นผู้หญิง เพราะข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำรายงานนั้นได้มาจากข้อมูลที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมียนมา รวบรวมขึ้นเมื่อปี 2002 และมหาวิทยาลัยของเมียนมาหลายแห่งอาจนับรวมอาจารย์ผู้สอนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ทำงานวิจัย

ผลวิจัยด้วย กล้องจุลทรรศน์ นักวิจัยหญิง
จากการตรวจสอบจำนวนเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยย่างกุ้งในปี 2013 พบว่าในจำนวนผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ 45 คน ในจำนวนนี้ 31 คน เป็นผู้หญิง หนึ่งในนั้นเป็นนักวิจัยหญิง ดร. ทาซิน ฮาน เป็นหัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา ดร. ทาซิน ฮาน เล่าถึงผลงานวิจัยผ่าน กล้องจุลทรรศน์ ของเธอเกี่ยวกับการใช้เปลือกกุ้งเหลือทิ้งเพื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยว่า ผลงานนี้มีประโยชน์ต่อเกษตรกรของเรามา ถือเป็นงานวิจัยที่ให้ผลคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับประเทศพม่า เธอกล่าว

งานวิจัย ถูกทอดทิ้ง
ดร. ฮาน หัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา กล่าวว่าศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสายงานเดียวกับเธอ ทุก ๆ 9 ใน 10 คน เป็นผู้หญิง แต่พวกเธอก็ไม่ต่างจากนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในเมียนมาที่เป็นพนักงานของรัฐ นั่นหมายความว่า งานที่ทำไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สูงนัก จากสภาพเศรษฐกิจของเมียนมาทำให้ผู้ชายจำต้องทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว จึงไม่ค่อยสนใจทำงานวิจัย ดร. ฮาน กล่าว

รายได้ นักวิจัย ชาวพม่า
ด้วยเงินเดือนของเธอ ซึ่งเป็นระดับบริหาร อยู่ที่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (หรือประมาณ 10,500 บาท) เธอบอกว่าเงินเดือนจำนวนนี้ไม่เพียงพอจุนเจือครอบครัว ดังนั้นผู้ชายจึงไม่เลือกที่จะทำอาชีพนี้แต่จะหางานทำที่ให้มีรายได้มากกว่านักวิจัย นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ของทางการเมียนมา ยังคงเผชิญความท้าทายอีกหลายอย่าง รวมถึงการขาดแคลนทรัพยากร อุปกรณ์ด้านงานวิจัย เช่น กล้องจุลทรรศน์ ฯลฯ และความเสี่ยงที่จะถูกโอนย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยซึ่งไม่มีแผนกวิจัย

ความภูมิใจ นักวิจัย ชาวพม่า
ดร. ฮาน หัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา ก็เคยถูกย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยในเมืองที่อยู่ห่างไกล โดยไม่มีแผนกวิจัยเป็นเวลา 6 ปี และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เธอเพิ่งถูกย้ายมาประจำในหน่วยงานที่เธอสามารถทำงานวิจัยได้อีกครั้ง เราได้กลับมามีชีวิตที่มีความสุขอีกครั้งจากงานวิจัยที่เธอถนัด เธอกล่าวด้วยความภูมิใจและรอยยิ้มแห่งความสุข

Cr.BBC,ครอบครัวข่าว