Saturday, November 4, 2023

ภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2566 สังเกตได้ชัดเจน


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพดาวดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีดวงจันทร์แกนีมีดเคลื่อนผ่านหน้า หลังจากค่ำนี้สามารถสังเกตได้ชัดเจน พร้อมจุดชมดาวฟรีทุกคืนวันเสาร์

สืบเนื่องจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. (NARIT) ออกมาโพสต์ข้อความเชิญชวนประชาชน ชมปรากฎการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Jupiter Opposition) โดยสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ จะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์กาลิเลียน 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโตอีกด้วย

ล่าสุด วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 NARIT ออกมาเผยภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี โดยบันทึกเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 66 เวลา 21.24 น. ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

NARIT โพสต์ภาพดาวพฤหัสบดีพร้อมข้อความระบุว่า ส่งท้ายค่ำคืนเปิดเทศกาลชมดาวด้วยดาวพฤหัสบดี ที่มีดวงจันทร์แกนีมีดเคลื่อนผ่านหน้า เงาของดวงจันทร์ทอดลงบนพื้นผิวดาวพฤหัสบดี สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

หลังจากค่ำคืนนี้ ดาวพฤหัสบดียังคงปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงค่ำ สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออกหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และปรากฏยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า




นอกจากนี้ สำหรับท่านใดที่อยากชมดาว สดร. จัดกิจกรรม NARIT Public Night โดยทุกท่านที่สนใจ สามารถร่วมชมดาวได้ทุกคืนวันเสาร์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสามารถเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่อุทยานและหอดูดาว รวม 5 แห่ง

ประกอบด้วย อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่, หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา, หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา, หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา

ท่านใดที่สนใจสามารถร่วมชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสุดงามตาได้ โดยวันเสาร์ที่ 4 พ.ย. นี้ เป็นคืนแรกของกิจกรรม ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อ้างอิง : Facebook NARIT, thaiger

Tuesday, October 3, 2023

กล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ซึ่งมีกำลังขยายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ผลงานนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล

กล้องไมโครสโคป (Microscope)

กล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ซึ่งมีกำลังขยายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ผลงานนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล


กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็นอุปกรณืที่จำเป็นในการศึกษาค้นคว้าทางชีววิทยาทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่มองเห็นไม่ชัดเจนและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รวมทั้งรายละเอียดหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตได้ดียิ่งขึ้น จากการค้นคว้าพัฒนาทางเทคโนโลยีได้ จากนักวิทยาาศาสตร์ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีก่อนหน้านี้ ผลงาน กล้องกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ชิ้นนี้ให้ภาพที่คมชัดเหนือกว่าภาพจากกล้องจุลทรรศน์ที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบัน และยังถือว่าเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งจะนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์และโรคฮันติงตัน ที่เกิดจากการเสื่อมของระบบประสาท รวมถึงใช้ในการออกแบบและพัฒนาตัวยา

นายเอริก เบ็ตซิก และนายวิลเลียม โมร์เนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และนายสเตฟาน เฮลล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีก่อนหน้านี้ จากการพัฒนาเทคนิคใหม่ของกล้องไมโครสโคป (Microscope)แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ซึ่งมีกำลังขยายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนพัฒนากล้องจุลทรรศน์โดยใช้แสงฟลูออเรสเซนต์ที่มีกำลังขยายสูง สามารถศึกษาส่วนประกอบภายในซึ่งให้ความละเอียดสูงมาก โดยสามารถลงลึกในโครงสร้างโมเลกุล เซลล์ที่อยู่ภายใน และขยายภาพได้ลึกถึงระดับนาโนซึ่งนับว่าเป็นการวิวัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่




คณะกรรมการฯ โนเบลระบุว่า นักวิจัยทั้งสามคนได้รับรางวัลจากการพัฒนา กล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์ (fluorescence microscopy) ที่มีความละเอียดสุดยอด ช่วยขยายขีดจำกัดของ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscope) ที่เป็นปัญหามานาน

ทั้งนี้ กล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์ หรือ กล้องจุลทรรศน์นาโน ถูกนำไปใช้ในหลายด้านเช่น ช่วยให้เห็นการปล่อยสัญญาณสื่อประสาท หรือติดตามโปรตีนเฉพาะในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาโมเลกุลที่มีขนาดเล็กสุดในเซลล์สิ่งมีชีวิตได้

ที่ผ่านมากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เผชิญข้อจำกัดเนื่องจากมันไม่สามารถขยายภาพให้มีความคมชัดจนเห็นสิ่งที่มีขนาดเล็กกว่า 0.2 ไมโครเมตรได้ ตามกฎข้อจำกัดการกระจายของลำแสง ของ เอิร์นสต์ แอบเบ นักจุลทัศน์วิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งตั้งเอาไว้เมื่อปี 2416 แต่การพัฒนากล้องจุลทรรศน์ของศ.เบตซิก, แฮลและโมร์เนอร์ ทลายข้อจำกัดนี้ไป

นักวิจัยทั้ง 3 คน ใช้วิธีการพัฒนากล้องจุลทรรศน์แตกต่างกันแต่เป็นการวางรากฐานของกล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์เหมือนกัน โดย ศ.แฮล พัฒนากล้องจุลทรรศน์สเต็ด ขึ้นมาในปี 2000 โดยเป็นการใช้แสงเลเซอร์ 2 ชนิดยิงความยาวคลื่นเฉพาะออกมา ทำให้โมเลกุลบางชนิดเรืองแสง สามารถเห็นสิ่งที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรได้

ส่วนศ. เบตซิกและศ. โมร์เนอร์ พัฒนากล้องจุลทรรศน์โมเลกุลเดี่ยว ใช้แสงเปิด-ปิดการเรืองแสงของโมเลกุลเดี่ยว ทำให้เห็นภาพระดับนาโนเมตรได้เช่นกัน

ทีนีมาดูว่า กล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) ทีใช้กับในปัจจุบันมีกี่แบบ กัน ลองมาหาข้อมูลกัน ชนิดของกล้องมีด้วยกัน 2 ชนิด
1. กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงอาทิตย์หรือแสงไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดลำแสง
2. กล้องจุลทรรศน์ที่มีแหล่งกำเนิดให้เป็นลำอิเล็คตรอน

1. กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงอาทิตย์หรือแสงไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดลำแสง

1.1 กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา (Light Microscope) กล้องแบบนี้เป็นกล้องที่ใช้สำหรับผู้ศึกษาเบื้องต้น เพราะเป็นกล้องที่มีวิธีการใช้ไม่ซับซ้อน
1.2 กล้องจุลทรรศน์แบบเฟสคอนทรัส (Phase Contrast Microscope) และ กล้องไมโครสโคป แบบอินเทอร์เฟอร์เรนซ์ (Interference Microscope) ใช้ศึกษาเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะบางใส
1.3 กล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซิง (Polarizing Microscope) ใช้ศึกษาผลิตภัณฑ์หรือเส้นใย ต่าง ๆ ในเซลล์หรือเนื้อเยื่อ
1.4 กล้องจุลทรรศน์แบบฟลูออเรสเซน (Fluorescence Microscope) เซลล์หรือเนื้อเยื่ออ ที่นำมาศึกษาต้องเคลือบด้วยสารเรืองแสง
1.5 กล้องจุลทรรศน์แบบอัลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet Microscope)ใช้ศึกษาส่วนที่เป็น กรดนิวคลิอิคและโปรตีน

2. กล้องจุลทรรศน์ที่มีแหล่งกำเนิดให้เป็นลำอิเล็คตรอน
2.1 กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope) ใช้ศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อ ในระดับโมเลกุล ใช้ตัวย่อ TEM

2.2 กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด ( Scaning Electron Microscope) ใช้ศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อ โดยทำให้องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ศึกษามีความเข้มของเงาต่างกันไป



อุปกรณ์ กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้สำหรับการส่องขยายวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับขนาดเล็ก ใบไม้ แมลงต่างๆ จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ของสิ่งมีชีวิต หรือพยาธิชนิดต่างๆ กล้องจุลทรรศน์จึงถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการทดลอง ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษา และใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ เพื่อตรวจสอบวัตถุชิ้นงาน การเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ดีควรเลือกกล้องที่ประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่จะสามารถปรับโฟกัสการขยายวัตถุให้มองเห็นผ่านเลนส์ได้อย่างละเอียดและแม่นยำสูง

Cr. ข่าวจาก http://www.ipecp.ac.th/,ไทยรัฐ

Sunday, September 3, 2023

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่าน กล้องไมโครสโคป



 การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วย กล้องไมโครสโคป ที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20–100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท ที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน  คอยเตือนแพทย์หากแตะโดนเส้นประสาท ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ....


 

 

หากมีอาการปวดหลังเพียงไม่นานแล้วหายได้จากการดูแลรักษาตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ถ้ามีอาการปวดหลังเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ไมโครสโคป คือคำตอบที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหากระดูกสันหลังกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หมดปัญหาความเจ็บปวดที่รบกวนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

ทำความรู้จัก กล้อง Microscope


ทำความรู้จัก กล้อง Microscope
Microscopic Discectomy / Foraminotomy คือ การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วย กล้องไมโครสโคป ที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20–100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีการใช้เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด (Intraoperative Monitoring : IOM) คอยเตือนแพทย์หากแตะโดนเส้นประสาท ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ช่วยให้สามารถผ่าตัดในจุดที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้ราบรื่นจากการมองเห็นภาพเดียวกัน ทำให้ใช้เวลาผ่าตัดทั้งหมดสั้นลง แผลมีขนาดเล็กประมาณ 2 เซนติเมตร เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว


สัญญาณเตือนอาจต้องผ่าตัดผ่าน กล้องฯ
*ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรงและรวดเร็ว
*ปวดรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
*ไม่หายขาดหลังรักษาแบบไม่ผ่าตัดนาน 3–6 เดือน
*ไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบปัสสาวะและอุจจาระได้

ผู้ป่วยที่เหมาะกับผ่าตัดผ่าน กล้อง Microscopic Discectomy
*ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
*ผู้ป่วยโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาทจากภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง


ข้อดีของ กล้อง Microscopic Discectomy
*ลดความเสียหายของกล้ามเนื้อและบริเวณเฉพาะที่
*ขณะผ่าตัดหากต้องการปรับเปลี่ยนแผนขยายช่องทางของเส้นประสาทสามารถทำได้ง่าย
*ลดอาการปวดและเวลาในการผ่าตัด
*พักฟื้นไม่นาน ฟื้นตัวได้เร็ว

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
ในช่วงพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดด้วย กล้องไมโครสโคป เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดอาการอ่อนเพลีย และฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้กลับมาทำงานแบบสดใสอีกครั้ง ก่อนออกจากโรงพยาบาลจะต้องทำกิจกรรม เช่น นั่งและออกจากรถ ขึ้นลงจากเตียงได้สะดวกหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ เมื่อกลับถึงบ้านไม่ควรนั่งนานเกิน 60 นาทีในแต่ละครั้ง ไม่ยกของหนัก ไม่ทำกิจกรรมที่ใช้แรง หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์ ต้องเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อท้องและหลัง


วินิจฉัยโดยแพทย์ก่อนการผ่าตัดฯ
ทั้งนี้การวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางด้วยการตรวจอย่างละเอียดและถูกต้องคือหัวใจสำคัญ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยรับประทานยาและทำกายภาพเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจหายขาดได้ แต่หากไม่หายและปวดรุนแรงจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดผ่าน กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) กำลังขยายสูง ซึ่งศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล มีมาตรฐานสากลในการรักษาเฉพาะทางด้านโรคปวดหลังจาก JCI สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย


Cr.คมชัดลึก,โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล,ไวไฟ ไมโครสโคป,Phyathai Hospital

Wednesday, January 18, 2023

กล้องจุลทรรศน์ ผ่านเครือข่าย วินิจฉัย โรคมาลาเรีย ระยะไกล ได้ทันที

กล้องไมโครสโคป (Microscope)


กล้องจุลทรรศน์ ผ่านเครือข่าย วินิจฉัย โรคมาลาเรีย ระยะไกล ได้ทันที 


เทคโนโลยีและนวัตกรรม กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam microscope) เป็นนวัตกรรมจาก กล้องไมโครสโคป (Microscope) เชื่อมต่อกับ กล้องเครือข่าย ระยะไกล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยมาลาเรียใน จ.แม่ฮ่องสอนโดย ดร.อังคณา แซ่เจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักป้องกันควบคุมโรค จ.เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค ที่เป็นการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการตรวจวินิจฉัยในพื้นที่ ที่นักตรวจวินิจฉัยอาจยังไม่มีความชำนาญมากเพียงพอ โดยเป็นการพัฒนากล้องเครือข่าย (web camera) ที่มีคุณภาพสูงให้เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสดงภาพเชื้อมาลาเรียที่มีขนาดเล็ก เพื่อส่งภาพไปยังผู้ตรวจวินิจฉัยชำนาญการที่อาจอยู่ในพื้นที่อื่น

วัตถุประสงค์ของการพัฒนา นวัตกรรมกล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam Microscope) เป็น กล้องไมโครสโคป (Microscope) ซูมให้เห็นกันชัดๆ 200 เท่า สามารถบันทึกเป็นวีดีโอ และบันทึกเป็นภาพนิ่งได้อย่างใจต้องการ ด้วยความละเอียดเลนส์กล้องถึง 2 ล้านพิกเซล ทำให้ภาพที่คุณถ่ายออกมาจากกล้องไมโครสโคปนั้นมีความชัดเชนง่ายในการสอดส่องชิ้นงาน แล้วส่งผ่านไปยังกล้องเครือข่าย ระยะไกล เพื่อลดระยะเวลาในการยืนยันการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และเพิ่มความมั่นใจกับบุคลากรในพื้นที่ทุรกันดาร โดยผู้ป่วยในรายที่สงสัยจะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องผ่านการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการดูเชื้อมาลาเรียด้วยระบบสารสนเทศ Web- Conference ทันทีแบบ live time
     
การขยายภาพในจอคอมพิวเตอร์แทนการส่องกล้องด้วยตาเปล่า ช่วยให้เกิดความแม่นยำนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และช่วยลดความเมื่อยล้าจากการส่องกล้องจุลทรรศน์เป็นเวลานานอันจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการมองเห็นและวิเคราะห์ผลที่ผิดพลาดได้ โดยเป็นการพัฒนาตัวกล้องเครือข่ายให้อยู่ในวัตถุที่สามารถสวมลงไปที่เลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์ได้โดยตรง นับเป็นการพัฒนาเครื่องมือตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ที่มีคุณภาพดี ราคาถูกและใช้งานได้ง่ายเหมาะกับนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเวลานานและสะดวกสำหรับนักปฏิบัติการที่มีอายุค่อนข้างมากด้วย” นักวิจัยระบุ

กลยุทธ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam microscope) ยำนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังกล่าว ได้นำมาใช้ในการลดระยะเวลาในการยืนยันผลการตรวจวินิจฉัยมาลาเรีย โดยการประดิษฐ์ คิดค้นพัฒนานวัตกรรม กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam Microscope) ที่ดัดแปลงจากกล้องไมโครสโคปเพื่อเชื่อมต่อกล้องจุลทรรศน์กับคอมพิวเตอร์ มีความชัดเจนของภาพสำหรับเชื้อมาลาเรียที่มีขนาดเล็ก ใช้ง่าย  สะดวก (user-friendly)

กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam Microscope) ดังกล่าว มีโปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีกล่องเครื่องมือ สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้ใช้ มีความรวดเร็ว และราคาถูก เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร สะดวกในการพกพา และทนกับการกระแทกพอสมควรโดยผู้ใช้สามารถถ่ายภาพเชื้อจากกล้องไมโครสโคป (Microscope)หรือกล้องจุลทรรศน์และใช้ส่งสัญญาณภาพจากกล้องจุลทรรศน์ผ่านระบบสารสนเทศถึงผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอยืนยันผลการวินิจฉัยโรคมาลาเรียได้ทันที ถึงแม้ว่า นวัตกรรมนี้จะไม่สามารถวัดผลกระทบในการลดโรคได้ในภาพรวมในระยะเวลาอันสั้น แต่อย่างน้อยก็ช่วยป้องกันไม่ไห้วินิจฉัยผิดพลาด ทั้งนี้เพียงมีผู้ป่วยมาลาเรีย 1 รายไม่เสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียก็คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนแล้ว

Cr.ผู้จัดการ

Wednesday, January 5, 2022

APP มือถือสมาร์ทโฟน เปลี่ยนเป็น กล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจหา เชื้อโรคมาลาเรีย ในตัวอย่างเลือดผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็ว

กล้องไมโครสโคป (Microscope)


APP มือถือสมาร์ทโฟน เปลี่ยนเป็น กล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจหา เชื้อโรคมาลาเรีย ในตัวอย่างเลือดผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็ว


การตรวจพบว่าป่วยด้วยมาลาเรียแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพของการบำบัดรักษา องค์การอนามัยโลกรายงานว่ามีคนเสียชีวิตจากมาลาเรียเกือบหกแสนคนในปีที่ผ่าน ๆ มา ทำให้โรคที่ยุงเป็นพาหะขนิดนี้กลายเป็นโรคที่ร้ายแรงมากที่สุดโลกหนึ่งบนโลกนี้และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก แต่เนื่องจากอาการเแรกเริ่มของมาลาเรียคล้ายกับอาการป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ นักพยาธิวิทยาจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการตรวจหาเชื้อโรคในตัวอย่างเลือดของคนขื้น เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคจาก กล้องไมโครสโคป (Microscope) อย่างถูกต้อง

ทีมนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า Xrapid ที่ช่วยให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็น กล้องไมโครสโคป (Microscope) ที่่กลายมาเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีแรงขยายที่ 200 ซูมให้เห็นกันชัดๆ 200 เท่า ช่วยให้นักพยาธิวิทยาตรวจหาตัวเชื้อมาลาเรียในตัวอย่างเลือดของคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว พัฒนาโดย คุณ Jean Viry-Babel ประธานบริหารของบริษัท IanXen ที่พัฒนาโปรแกรมโทรศัพท์มือถือตัวนี้กล่าวว่าโปรแกรม APP นี้ราคาถูกและใช้งานสะดวกทุกที่

คุณ Jean Viry-Babel ประธานบริหารของบริษัท IanXen  กล่าวว่าทีมนักวิจัยถ่ายภาพตัวอย่างเลือด ให้มีระดับความละเอียดของภาพสูง นักวิจัยทำการแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงออกจากเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด หลังจากนั้นจะเริ่มวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงทีละตัวจาก กล้องไมโครสโคป (Microscope) โดยเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือกลายเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีแรงขยายที่ 200 ช่วยให้นักพยาธิวิทยาตรวจหาตัวเชื้อมาลาเรียในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทีมนักวิจัยในประเทศอังกฤษ ยังวางแผนที่จะพัฒนาให้  APP โทรศัพท์มือถือตัวใหม่นี้สามารถวินิจฉัยวัณโรคและโรค Lyme Disease ได้ด้วยในอนาคต

คุณ Viry-Babel ชี้ว่าโปรแกรม App นี้ราคาถูก ใช้งานง่ายและได้ผลที่น่าเชื่อถือได้เกือบ 98 เปอร์เซ็นต์ และต้องใช้จานแก้วห้องทดลองที่เรียกว่า slate เป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น เขากล่าวว่าปุ่มบังคับก็มีเพียงแค่ปุ่มกดที่เรียกว่าปุ่ม diagnose เท่านั้น ผู้ใช้เพียงใส่ตัวอย่างเลือดแห้งบน slate แล้วกดปุ่ม diagnose ปุ่มนี้ และโปรแกรมก็จะแจ้งผลการตรวจว่าเป็นมาลาเรียหรือไม่ ทีมนักวิจัยชี้ว่ากำลังนำอุปกรณ์ไปทดสอบภาคสนามและจะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ โดยดำเนินการในประเทศแทนซาเนีย เบนินและอินโดนีเซีย ในขณะที่วางแผนจะนำออกมาให้ใช้กันได้ทั่วไปในราวปลายเดือนมีนาคม

Cr.Voice of Ameria

Sunday, January 7, 2018

นักวิจัยหญิง ประเทศพม่า

นักวิจัยหญิง ประเทศพม่า

นักวิจัยหญิง ประเทศพม่า


กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ นำได้นำไปใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากกมาย อาทิเช่น หลายคนนำไปส่องปรสิต เกสรดอกไม้ เซลล์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งนำกล้องจุลทรรศน์ไปส่องอัญมณี ถ่ายภาพส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูว่าเป็นของปลอมหรือไม่ ผู้เลี้ยงกุ้งนำ กล้องจุลทรรศน์ ไปส่องถ่ายภาพแล้วส่งให้สัตวแพทย์ดูว่ากุ้งของเขาเป็นโรคหรือไม่ หรือนำกล้องจุลทรรศน์งานวิจัยเปลือกกุ้งเหลือทิ้งจาก นักวิจัยชาวพม่าที่มีผลงานโดดเด่นช่วยให้เกษตรกรชาวพม่าได้รับประโยชน์มากมายจากผลการวิจัยนี้ แต่หากรู้ไหมว่า นักวิจัยชาวพม่ากลับมีสัดส่วนเป็นนักวิจัยหญิงเกินกว่าครึ่งของนักวิจัยชาย

สัดส่วนนักวิจัยหญิงและชาย
ส่วนหนึ่งของรายงานขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เกี่ยวกับผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ระบุว่าหลายประเทศมีสัดส่วนนักวิจัยผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยประเทศที่โดดเด่นอย่างมากในเอเชียคือ เมียนมา ซึ่งมีสัดส่วนนักวิจัยเป็นผู้หญิง 85.5% ถือว่าสูงสุดในเอเชีย ขณะที่สัดส่วนทั่วโลกมีไม่ถึง 30% เมียนมาเป็นแบบอย่างของความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์หรือไม่ ?

อาจารย์มหาวิทยาลัย ประเทศพม่า
จากการเปิดเผย ยูเนสโกเองยอมรับว่าจริง ๆ แล้วตัวเลขอาจจะไม่สูงถึงขนาดนั้น แม้ว่าตัวเลขจริงอาจไม่สูงถึง 85.5% แต่ก็ดูเหมือนว่านักวิจัยส่วนใหญ่ในเมียนมาเป็นผู้หญิง เพราะข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำรายงานนั้นได้มาจากข้อมูลที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมียนมา รวบรวมขึ้นเมื่อปี 2002 และมหาวิทยาลัยของเมียนมาหลายแห่งอาจนับรวมอาจารย์ผู้สอนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ทำงานวิจัย

ผลวิจัยด้วย กล้องจุลทรรศน์ นักวิจัยหญิง
จากการตรวจสอบจำนวนเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยย่างกุ้งในปี 2013 พบว่าในจำนวนผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ 45 คน ในจำนวนนี้ 31 คน เป็นผู้หญิง หนึ่งในนั้นเป็นนักวิจัยหญิง ดร. ทาซิน ฮาน เป็นหัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา ดร. ทาซิน ฮาน เล่าถึงผลงานวิจัยผ่าน กล้องจุลทรรศน์ ของเธอเกี่ยวกับการใช้เปลือกกุ้งเหลือทิ้งเพื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยว่า ผลงานนี้มีประโยชน์ต่อเกษตรกรของเรามา ถือเป็นงานวิจัยที่ให้ผลคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับประเทศพม่า เธอกล่าว

งานวิจัย ถูกทอดทิ้ง
ดร. ฮาน หัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา กล่าวว่าศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสายงานเดียวกับเธอ ทุก ๆ 9 ใน 10 คน เป็นผู้หญิง แต่พวกเธอก็ไม่ต่างจากนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในเมียนมาที่เป็นพนักงานของรัฐ นั่นหมายความว่า งานที่ทำไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สูงนัก จากสภาพเศรษฐกิจของเมียนมาทำให้ผู้ชายจำต้องทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว จึงไม่ค่อยสนใจทำงานวิจัย ดร. ฮาน กล่าว

รายได้ นักวิจัย ชาวพม่า
ด้วยเงินเดือนของเธอ ซึ่งเป็นระดับบริหาร อยู่ที่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (หรือประมาณ 10,500 บาท) เธอบอกว่าเงินเดือนจำนวนนี้ไม่เพียงพอจุนเจือครอบครัว ดังนั้นผู้ชายจึงไม่เลือกที่จะทำอาชีพนี้แต่จะหางานทำที่ให้มีรายได้มากกว่านักวิจัย นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ของทางการเมียนมา ยังคงเผชิญความท้าทายอีกหลายอย่าง รวมถึงการขาดแคลนทรัพยากร อุปกรณ์ด้านงานวิจัย เช่น กล้องจุลทรรศน์ ฯลฯ และความเสี่ยงที่จะถูกโอนย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยซึ่งไม่มีแผนกวิจัย

ความภูมิใจ นักวิจัย ชาวพม่า
ดร. ฮาน หัวหน้างานวิจัยอาหารที่กรมวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลเมียนมา ก็เคยถูกย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยในเมืองที่อยู่ห่างไกล โดยไม่มีแผนกวิจัยเป็นเวลา 6 ปี และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เธอเพิ่งถูกย้ายมาประจำในหน่วยงานที่เธอสามารถทำงานวิจัยได้อีกครั้ง เราได้กลับมามีชีวิตที่มีความสุขอีกครั้งจากงานวิจัยที่เธอถนัด เธอกล่าวด้วยความภูมิใจและรอยยิ้มแห่งความสุข

Cr.BBC,ครอบครัวข่าว

ผ่าตัดแผลเล็ก ผ่าน กล้องจุลทรรศน์

ผ่าตัดแผลเล็ก ผ่าน กล้องจุลทรรศน์

 ผ่าตัดแผลเล็ก ผ่าน กล้องจุลทรรศน์


ในอดีตหากพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย และอดไม่ได้ที่จะเกิดความวิตกกังวลไปต่างๆ นานา ไหนจะกลัวเจ็บ แล้วยังต้องเสี่ยงกับผลลัพธ์และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดอีกต่างหาก จึงไม่แปลกที่คนไข้หลายรายจะปฏิเสธการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้วหันไปพึ่งวิธีอื่นแทน แต่ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้รับการพัฒนาจนสามารถคิดค้นการผ่าตัดแผลเล็ก ด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดส่องกล้องหรือผ่าตัดผ่าน กล้องจุลทรรศน์ ขึ้นมา คุณจะรู้ว่า การผ่าตัดแผลเล็ก นั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไปแล้ว

สถาบัน MMI & ล่ำหน้าเครื่องมือแพทย์
สถาบัน MMI (Medical Microinstruments S.r.l.) ก่อตั้งในปี 2558 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองกาลชี จังหวัดปิซา ประเทศอิตาลี ทีมงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์สำหรับการผ่าตัดส่องกล้องหรือผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ให้ง่ายขึ้น ด้วยอุปกรณ์แขนกลหุ่นยนต์จิ๋วเหมาะสำหรับเหล่าศัลยแพทย์ทั่วโลก สามารถทำการผ่าตัดส่องกล้องด้วยกระบวนการที่ทันสมัยขึ้นได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนการผ่าตัดเล็ก ๆ สำหรับผู้ป่วย โรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง

หุ่นยนต์แขนกลจิ๋ว
สถาบัน MMI (Medical Microinstruments S.r.l.) ผู้พัฒนาโซลูชั่นหุ่นยนต์ทีมาพร้อมแขนกลจิ๋วสุดล้ำเพื่อทลายข้อจำกัดในวงการแพทย์ ประกาศเปิดตัวหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วที่คิดค้นขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการทำการศัลยกรรมผ่าตัดผ่าน กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ศัลยแพทย์สามารถควบคุมอุปกรณ์หุ่นยนต์แขนกลจิ๋วขนาดเล็กๆ 2 แขนมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผ่าตัดแผลเล็กเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากบาดแผล เช่นเดียวกับการผ่าตัดเนื้องอกในเนื้อเยื่ออ่อนและกระดูก ทั้งยังมีศักยภาพในการเพิ่มอัตราความสำเร็จในการผ่าตัดแผลเล็กและผลลัพธ์ดีเลิศในการรักษาผู้ป่วยอีกด้วย

ผ่าตัดส่อง กล้องจุลทรรศน์
อุปกรณ์ทางการแพทย์ของสถาบัน MMI กล้องจุลทรรศน์มาพร้อมกับหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วที่เล็กที่สุดด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกเพียง 3 มิลลิเมตร และมีปลายที่เล็กเพียง 150 ไมครอน แขนกลจิ๋วนี้เป็นกุญแจสำคัญในการทำการผ่าตัดแผลเล็กด้วยหุ่นยนต์ทางคลินิกทีปลอดภัยและแม่นยำ และเปิดโอกาสให้สามารถควบคุมการเย็บแผลขนาดเล็กตั้งแต่ 9-0 ไปจนถึง 12-0 ผ่านกล้องจุลทรรศน์ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ศัลยแพทย์ใช้อุปกรณ์จุลศัลยกรรมหรือหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วนี้ขณะที่นั่งอยู่ข้างเตียงผ่าตัดและมองการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วจะจับการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ ขณะเดียวกันแขนกลก็จะเคลื่อนไหวตาม

ผ่าตัดต่อเส้นเลือดแดงผ่านกล้อง
ศาสตราจารย์ Marco Innocenti หัวหน้าแผนกจุลศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาล Careggi University Hospital ในเมืองฟลอเรนซ์ ได้นำเสนอผลงานการผ่าตัดส่องกล้องหรือผ่าตัดผ่านกล้องกล้องจุลทรรศน์ด้วยหุ่นยนต์แขนกลจิ๋วของสถาบัน MMI ซึ่งรวมถึงหุ่นยนต์ผ่าตัดต่อเส้นเลือดแดงขนาด 0.35 มม. ณ การประชุม Congress of World Society for Reconstructive Microsurgery ครั้งที่ 9 ในกรุงโซลของเกาหลีใต้

อนาคต ความก้าวหน้า จุลศัลยกรรม
โดยเขากล่าวว่า หุ่นยนต์ของสถาบัน MMI จะขับเคลื่อนวงการจุลศัลยกรรมไปข้างหน้า เหนือขีดความสามารถของมือมนุษย์ ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้เหล่าศัลยแพทย์จำนวนมากสามารถทำการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ และยังเปิดโอกาสในการผ่าตัดระดับซูเปอร์ไมโครเซอร์เจอรี เช่น การเสริมสร้างน้ำเหลือง ให้กับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าด้วย เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ลดอาการเจ็บแผล และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น

Cr.กรุงเทพธุรกิจ