Saturday, November 4, 2023

ภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2566 สังเกตได้ชัดเจน


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพดาวดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีดวงจันทร์แกนีมีดเคลื่อนผ่านหน้า หลังจากค่ำนี้สามารถสังเกตได้ชัดเจน พร้อมจุดชมดาวฟรีทุกคืนวันเสาร์

สืบเนื่องจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. (NARIT) ออกมาโพสต์ข้อความเชิญชวนประชาชน ชมปรากฎการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Jupiter Opposition) โดยสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ จะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์กาลิเลียน 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโตอีกด้วย

ล่าสุด วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 NARIT ออกมาเผยภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี โดยบันทึกเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 66 เวลา 21.24 น. ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

NARIT โพสต์ภาพดาวพฤหัสบดีพร้อมข้อความระบุว่า ส่งท้ายค่ำคืนเปิดเทศกาลชมดาวด้วยดาวพฤหัสบดี ที่มีดวงจันทร์แกนีมีดเคลื่อนผ่านหน้า เงาของดวงจันทร์ทอดลงบนพื้นผิวดาวพฤหัสบดี สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

หลังจากค่ำคืนนี้ ดาวพฤหัสบดียังคงปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงค่ำ สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออกหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และปรากฏยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า




นอกจากนี้ สำหรับท่านใดที่อยากชมดาว สดร. จัดกิจกรรม NARIT Public Night โดยทุกท่านที่สนใจ สามารถร่วมชมดาวได้ทุกคืนวันเสาร์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสามารถเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่อุทยานและหอดูดาว รวม 5 แห่ง

ประกอบด้วย อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่, หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา, หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา, หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา

ท่านใดที่สนใจสามารถร่วมชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสุดงามตาได้ โดยวันเสาร์ที่ 4 พ.ย. นี้ เป็นคืนแรกของกิจกรรม ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อ้างอิง : Facebook NARIT, thaiger

Tuesday, October 3, 2023

กล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ซึ่งมีกำลังขยายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ผลงานนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล

กล้องไมโครสโคป (Microscope)

กล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ซึ่งมีกำลังขยายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ผลงานนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล


กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) เป็นอุปกรณืที่จำเป็นในการศึกษาค้นคว้าทางชีววิทยาทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่มองเห็นไม่ชัดเจนและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รวมทั้งรายละเอียดหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตได้ดียิ่งขึ้น จากการค้นคว้าพัฒนาทางเทคโนโลยีได้ จากนักวิทยาาศาสตร์ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีก่อนหน้านี้ ผลงาน กล้องกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ชิ้นนี้ให้ภาพที่คมชัดเหนือกว่าภาพจากกล้องจุลทรรศน์ที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบัน และยังถือว่าเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งจะนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์และโรคฮันติงตัน ที่เกิดจากการเสื่อมของระบบประสาท รวมถึงใช้ในการออกแบบและพัฒนาตัวยา

นายเอริก เบ็ตซิก และนายวิลเลียม โมร์เนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และนายสเตฟาน เฮลล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีก่อนหน้านี้ จากการพัฒนาเทคนิคใหม่ของกล้องไมโครสโคป (Microscope)แบบใช้แสงฟลูออเรสเซนส์ซึ่งมีกำลังขยายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนพัฒนากล้องจุลทรรศน์โดยใช้แสงฟลูออเรสเซนต์ที่มีกำลังขยายสูง สามารถศึกษาส่วนประกอบภายในซึ่งให้ความละเอียดสูงมาก โดยสามารถลงลึกในโครงสร้างโมเลกุล เซลล์ที่อยู่ภายใน และขยายภาพได้ลึกถึงระดับนาโนซึ่งนับว่าเป็นการวิวัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่




คณะกรรมการฯ โนเบลระบุว่า นักวิจัยทั้งสามคนได้รับรางวัลจากการพัฒนา กล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์ (fluorescence microscopy) ที่มีความละเอียดสุดยอด ช่วยขยายขีดจำกัดของ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscope) ที่เป็นปัญหามานาน

ทั้งนี้ กล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์ หรือ กล้องจุลทรรศน์นาโน ถูกนำไปใช้ในหลายด้านเช่น ช่วยให้เห็นการปล่อยสัญญาณสื่อประสาท หรือติดตามโปรตีนเฉพาะในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาโมเลกุลที่มีขนาดเล็กสุดในเซลล์สิ่งมีชีวิตได้

ที่ผ่านมากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เผชิญข้อจำกัดเนื่องจากมันไม่สามารถขยายภาพให้มีความคมชัดจนเห็นสิ่งที่มีขนาดเล็กกว่า 0.2 ไมโครเมตรได้ ตามกฎข้อจำกัดการกระจายของลำแสง ของ เอิร์นสต์ แอบเบ นักจุลทัศน์วิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งตั้งเอาไว้เมื่อปี 2416 แต่การพัฒนากล้องจุลทรรศน์ของศ.เบตซิก, แฮลและโมร์เนอร์ ทลายข้อจำกัดนี้ไป

นักวิจัยทั้ง 3 คน ใช้วิธีการพัฒนากล้องจุลทรรศน์แตกต่างกันแต่เป็นการวางรากฐานของกล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์เหมือนกัน โดย ศ.แฮล พัฒนากล้องจุลทรรศน์สเต็ด ขึ้นมาในปี 2000 โดยเป็นการใช้แสงเลเซอร์ 2 ชนิดยิงความยาวคลื่นเฉพาะออกมา ทำให้โมเลกุลบางชนิดเรืองแสง สามารถเห็นสิ่งที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรได้

ส่วนศ. เบตซิกและศ. โมร์เนอร์ พัฒนากล้องจุลทรรศน์โมเลกุลเดี่ยว ใช้แสงเปิด-ปิดการเรืองแสงของโมเลกุลเดี่ยว ทำให้เห็นภาพระดับนาโนเมตรได้เช่นกัน

ทีนีมาดูว่า กล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องไมโครสโคป (Microscope) ทีใช้กับในปัจจุบันมีกี่แบบ กัน ลองมาหาข้อมูลกัน ชนิดของกล้องมีด้วยกัน 2 ชนิด
1. กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงอาทิตย์หรือแสงไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดลำแสง
2. กล้องจุลทรรศน์ที่มีแหล่งกำเนิดให้เป็นลำอิเล็คตรอน

1. กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงอาทิตย์หรือแสงไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดลำแสง

1.1 กล้องจุลทรรศน์แบบแสงธรรมดา (Light Microscope) กล้องแบบนี้เป็นกล้องที่ใช้สำหรับผู้ศึกษาเบื้องต้น เพราะเป็นกล้องที่มีวิธีการใช้ไม่ซับซ้อน
1.2 กล้องจุลทรรศน์แบบเฟสคอนทรัส (Phase Contrast Microscope) และ กล้องไมโครสโคป แบบอินเทอร์เฟอร์เรนซ์ (Interference Microscope) ใช้ศึกษาเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะบางใส
1.3 กล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซิง (Polarizing Microscope) ใช้ศึกษาผลิตภัณฑ์หรือเส้นใย ต่าง ๆ ในเซลล์หรือเนื้อเยื่อ
1.4 กล้องจุลทรรศน์แบบฟลูออเรสเซน (Fluorescence Microscope) เซลล์หรือเนื้อเยื่ออ ที่นำมาศึกษาต้องเคลือบด้วยสารเรืองแสง
1.5 กล้องจุลทรรศน์แบบอัลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet Microscope)ใช้ศึกษาส่วนที่เป็น กรดนิวคลิอิคและโปรตีน

2. กล้องจุลทรรศน์ที่มีแหล่งกำเนิดให้เป็นลำอิเล็คตรอน
2.1 กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope) ใช้ศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อ ในระดับโมเลกุล ใช้ตัวย่อ TEM

2.2 กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด ( Scaning Electron Microscope) ใช้ศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อ โดยทำให้องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ศึกษามีความเข้มของเงาต่างกันไป



อุปกรณ์ กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้สำหรับการส่องขยายวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับขนาดเล็ก ใบไม้ แมลงต่างๆ จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ของสิ่งมีชีวิต หรือพยาธิชนิดต่างๆ กล้องจุลทรรศน์จึงถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการทดลอง ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษา และใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ เพื่อตรวจสอบวัตถุชิ้นงาน การเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ดีควรเลือกกล้องที่ประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่จะสามารถปรับโฟกัสการขยายวัตถุให้มองเห็นผ่านเลนส์ได้อย่างละเอียดและแม่นยำสูง

Cr. ข่าวจาก http://www.ipecp.ac.th/,ไทยรัฐ

Sunday, September 3, 2023

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่าน กล้องไมโครสโคป



 การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วย กล้องไมโครสโคป ที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20–100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท ที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน  คอยเตือนแพทย์หากแตะโดนเส้นประสาท ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ....


 

 

หากมีอาการปวดหลังเพียงไม่นานแล้วหายได้จากการดูแลรักษาตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ถ้ามีอาการปวดหลังเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ไมโครสโคป คือคำตอบที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหากระดูกสันหลังกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หมดปัญหาความเจ็บปวดที่รบกวนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

ทำความรู้จัก กล้อง Microscope


ทำความรู้จัก กล้อง Microscope
Microscopic Discectomy / Foraminotomy คือ การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วย กล้องไมโครสโคป ที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20–100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน มีการใช้เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด (Intraoperative Monitoring : IOM) คอยเตือนแพทย์หากแตะโดนเส้นประสาท ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ช่วยให้สามารถผ่าตัดในจุดที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้ราบรื่นจากการมองเห็นภาพเดียวกัน ทำให้ใช้เวลาผ่าตัดทั้งหมดสั้นลง แผลมีขนาดเล็กประมาณ 2 เซนติเมตร เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว


สัญญาณเตือนอาจต้องผ่าตัดผ่าน กล้องฯ
*ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรงและรวดเร็ว
*ปวดรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
*ไม่หายขาดหลังรักษาแบบไม่ผ่าตัดนาน 3–6 เดือน
*ไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบปัสสาวะและอุจจาระได้

ผู้ป่วยที่เหมาะกับผ่าตัดผ่าน กล้อง Microscopic Discectomy
*ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
*ผู้ป่วยโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาทจากภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง


ข้อดีของ กล้อง Microscopic Discectomy
*ลดความเสียหายของกล้ามเนื้อและบริเวณเฉพาะที่
*ขณะผ่าตัดหากต้องการปรับเปลี่ยนแผนขยายช่องทางของเส้นประสาทสามารถทำได้ง่าย
*ลดอาการปวดและเวลาในการผ่าตัด
*พักฟื้นไม่นาน ฟื้นตัวได้เร็ว

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
ในช่วงพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดด้วย กล้องไมโครสโคป เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดอาการอ่อนเพลีย และฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้กลับมาทำงานแบบสดใสอีกครั้ง ก่อนออกจากโรงพยาบาลจะต้องทำกิจกรรม เช่น นั่งและออกจากรถ ขึ้นลงจากเตียงได้สะดวกหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ เมื่อกลับถึงบ้านไม่ควรนั่งนานเกิน 60 นาทีในแต่ละครั้ง ไม่ยกของหนัก ไม่ทำกิจกรรมที่ใช้แรง หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์ ต้องเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อท้องและหลัง


วินิจฉัยโดยแพทย์ก่อนการผ่าตัดฯ
ทั้งนี้การวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางด้วยการตรวจอย่างละเอียดและถูกต้องคือหัวใจสำคัญ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยรับประทานยาและทำกายภาพเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจหายขาดได้ แต่หากไม่หายและปวดรุนแรงจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดผ่าน กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) กำลังขยายสูง ซึ่งศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล มีมาตรฐานสากลในการรักษาเฉพาะทางด้านโรคปวดหลังจาก JCI สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย


Cr.คมชัดลึก,โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล,ไวไฟ ไมโครสโคป,Phyathai Hospital

Wednesday, January 18, 2023

กล้องจุลทรรศน์ ผ่านเครือข่าย วินิจฉัย โรคมาลาเรีย ระยะไกล ได้ทันที

กล้องไมโครสโคป (Microscope)


กล้องจุลทรรศน์ ผ่านเครือข่าย วินิจฉัย โรคมาลาเรีย ระยะไกล ได้ทันที 


เทคโนโลยีและนวัตกรรม กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam microscope) เป็นนวัตกรรมจาก กล้องไมโครสโคป (Microscope) เชื่อมต่อกับ กล้องเครือข่าย ระยะไกล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยมาลาเรียใน จ.แม่ฮ่องสอนโดย ดร.อังคณา แซ่เจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักป้องกันควบคุมโรค จ.เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค ที่เป็นการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการตรวจวินิจฉัยในพื้นที่ ที่นักตรวจวินิจฉัยอาจยังไม่มีความชำนาญมากเพียงพอ โดยเป็นการพัฒนากล้องเครือข่าย (web camera) ที่มีคุณภาพสูงให้เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสดงภาพเชื้อมาลาเรียที่มีขนาดเล็ก เพื่อส่งภาพไปยังผู้ตรวจวินิจฉัยชำนาญการที่อาจอยู่ในพื้นที่อื่น

วัตถุประสงค์ของการพัฒนา นวัตกรรมกล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam Microscope) เป็น กล้องไมโครสโคป (Microscope) ซูมให้เห็นกันชัดๆ 200 เท่า สามารถบันทึกเป็นวีดีโอ และบันทึกเป็นภาพนิ่งได้อย่างใจต้องการ ด้วยความละเอียดเลนส์กล้องถึง 2 ล้านพิกเซล ทำให้ภาพที่คุณถ่ายออกมาจากกล้องไมโครสโคปนั้นมีความชัดเชนง่ายในการสอดส่องชิ้นงาน แล้วส่งผ่านไปยังกล้องเครือข่าย ระยะไกล เพื่อลดระยะเวลาในการยืนยันการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และเพิ่มความมั่นใจกับบุคลากรในพื้นที่ทุรกันดาร โดยผู้ป่วยในรายที่สงสัยจะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องผ่านการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการดูเชื้อมาลาเรียด้วยระบบสารสนเทศ Web- Conference ทันทีแบบ live time
     
การขยายภาพในจอคอมพิวเตอร์แทนการส่องกล้องด้วยตาเปล่า ช่วยให้เกิดความแม่นยำนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และช่วยลดความเมื่อยล้าจากการส่องกล้องจุลทรรศน์เป็นเวลานานอันจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการมองเห็นและวิเคราะห์ผลที่ผิดพลาดได้ โดยเป็นการพัฒนาตัวกล้องเครือข่ายให้อยู่ในวัตถุที่สามารถสวมลงไปที่เลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์ได้โดยตรง นับเป็นการพัฒนาเครื่องมือตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ที่มีคุณภาพดี ราคาถูกและใช้งานได้ง่ายเหมาะกับนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเวลานานและสะดวกสำหรับนักปฏิบัติการที่มีอายุค่อนข้างมากด้วย” นักวิจัยระบุ

กลยุทธ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam microscope) ยำนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังกล่าว ได้นำมาใช้ในการลดระยะเวลาในการยืนยันผลการตรวจวินิจฉัยมาลาเรีย โดยการประดิษฐ์ คิดค้นพัฒนานวัตกรรม กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam Microscope) ที่ดัดแปลงจากกล้องไมโครสโคปเพื่อเชื่อมต่อกล้องจุลทรรศน์กับคอมพิวเตอร์ มีความชัดเจนของภาพสำหรับเชื้อมาลาเรียที่มีขนาดเล็ก ใช้ง่าย  สะดวก (user-friendly)

กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย (Webcam Microscope) ดังกล่าว มีโปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีกล่องเครื่องมือ สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้ใช้ มีความรวดเร็ว และราคาถูก เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร สะดวกในการพกพา และทนกับการกระแทกพอสมควรโดยผู้ใช้สามารถถ่ายภาพเชื้อจากกล้องไมโครสโคป (Microscope)หรือกล้องจุลทรรศน์และใช้ส่งสัญญาณภาพจากกล้องจุลทรรศน์ผ่านระบบสารสนเทศถึงผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอยืนยันผลการวินิจฉัยโรคมาลาเรียได้ทันที ถึงแม้ว่า นวัตกรรมนี้จะไม่สามารถวัดผลกระทบในการลดโรคได้ในภาพรวมในระยะเวลาอันสั้น แต่อย่างน้อยก็ช่วยป้องกันไม่ไห้วินิจฉัยผิดพลาด ทั้งนี้เพียงมีผู้ป่วยมาลาเรีย 1 รายไม่เสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียก็คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนแล้ว

Cr.ผู้จัดการ